วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตำนานเจ้าพ่อโต๊ะนิ รายาผู้อารี อับดุลฮากีม บาเปาะ

ตำนานเจ้าพ่อโต๊ะนิ รายาผู้อารี
                 โต๊ะนิ เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกผู้ใหญ่ผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งมีเชื้อสายเจ้านายราชตระกูลในยุครัฐปัตตานี เป็นการแสดงถึงการยกย่องนับถือด้วยความเคารพ โต๊ะนิที่ได้รับการยกย่องนับถือจากผู้คนตลอดตั้งแต่เมืองรามันห์ จนถึงตำบลโก๊ระ รัฐเปรัค สหพันธรัฐมาเลเซียในปัจจุบัน  ว่า ท่านเป็นบุคคลที่เป็นผู้ปกครองที่ดี มีวิชาอาคม สามารถแสดงปาฏิหารย์ ช่วยเหลือ ปัดเป่าความทุกข์ยาก ความเดือดร้อนของชาวบ้าน การเจ็บไข้ได้ป่วย จนเป็นที่เลื่องลือในสมัยนั้น  และชาวไทยจีนได้สร้างศาลตรงกอไผ่ ที่เป็นจุดบ้านของท่านในอดีต เพื่อยึดถือและกราบไหว้บูชาในฐานะ เจ้าพ่อโต๊ะนิเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น สืบทอดกันมา ผู้คนที่ประสบปัญหา ทั้งทางธุรกิจ เจ็บไข้ได้ป่วย หรือถูกคุณไสย จะมาบนบานศาลกล่าว
                  รายาจาวัน ชอบการผจญภัยเป็นชีวิตจิตใจ รายาจาวันจะออกเยี่ยมเยียนราษฎรอยู่เสมอ ท่านกินนอน อยู่ง่ายแบบสามัญชน ยามใดที่มีโอกาส ก็มักจะชวนสมัครพรรคพวกตลอดจนข้าราชบริพารออกท่องเที่ยวป่า ล่าสัตว์อยู่เป็นประจำ นอกจากนั้น รายาจาวัน ยังมีจิตใจโอบอ้อมอารีจึงเป็นที่รักใคร่ของประชาชน เมื่อมีคนที่เจ็บไข้ได้ป่วย มาให้รายาจาวันเป็นผู้รักษา มักจะหายเป็นปกติกลับไปทุกราย จนเป็นที่เลื่องลือทั่วสารทิศ ผู้คนขนานนามยกย่องท่านว่า โต๊ะนิ ซึ่งเป็นการแสดงถึงความเคารพยกย่องอย่างสูง
                  สำหรับวังหรือบ้านของรายาจาวันนั้น มีอยู่ 3 แห่ง คือ ที่โกตาบารู ที่เมืองรามันห์ และหมู่บ้านโกร๊ะ ปัจจุบันเป็นกิ่งอำเภอโกร๊ะ ฮูลูเปรัค ประเทศมาเลเซีย ตามตำนานกล่าวว่า รายาจาวันได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา ศพได้ถูกฝังไว้ที่โกร๊ะ ซี่งเป็นบ้านอีกแห่งของท่าน (แต่มีสุสานอีกแห่งที่โกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา)

ถึงแม้โต๊ะนิรายาจะถึงแก่กรมไปแล้ว ได้เกิดเหตุการณ์หนุ่มสาวไปทำมิดีมิร้ายหลังศาลดังกล่าว ปรากฏว่าอวัยวะเพศติดเป็นกาวเหมือนสุนัข ไม่สามารถถอดได้ จนต้องนำส่งโรงพยาบาล และในที่สุดหมอต้องตัดทิ้ง  เจ้าหนุ่มหื่นนั้นเสียชีวิตที่โรงพยาบาล และต่อมาผู้หญิงก็เสียชีวิตที่บ้านเธอเอง  เหตุการณ์ที่เกิดนั้น ทำให้ชาวบ้านได้ยอมรับถึงความมีบุญบารมีมีของโต๊ะนิรายา ว่า มีความอาถรรพ์มากเพียงใด
                                                                                                                                                                                                             สุสานโต๊ะนิ ที่โกตาบารู 
                          อีกเหตุการณ์ ก็คือ ตอนที่เขาโค่นและเผากอไผ่ตรงหลังศาลเจ้าพ่อโต๊ะนิ โดยจ้างคนภายนอกพื้นที่ ซึ่งมาจากอีสาน คงไม่ทราบถึงความเป็นมา จึงได้กล้ารับที่จะรับจ้าง ทำให้มีการบาดเจ็บ เจ็บไข้ ได้ป่วย  เป็นสิบๆคน แม้ว่าโต๊ะนิรายาจาวันจะถึงแก่กรรมไปแล้ว ความศรัธา กิตติศัพท์ คุณงามความดี ความโอบอ้อมอารี และความศรัทธาในความสามารถด้านวิชาอาคมมิได้เสื่อมคลายไปจากพื้นที่ ชาวไทยพุทธและไทยจีนในอำเภอเบตงได้ปลูกสร้างศาลขึ้นตรงที่พำนักของท่านตรงก่อไผ่ ทางทิศใต้ของสนามบาสโรงเรียนวีระราษฎรประสาน และเรียกขานว่า ศาลเจ้าพ่อโต๊ะนิ   




แหล่งอ้างอิง






                                                                                                               


4 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 20 คะแนน
    ภาพประกอบเรียงความดีมากค่ะ แต่ถ้าจะได้คะแนนเพิ่มเติม ควรปรับปรุงดังนี้
    1. ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่อง
    2. ส่วนเนื้อเรื่อง สั้นเกินไป
    3. ส่วนสรุปยังขาดความเป็นเอกภาพ ยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  2. คะแนนที่ได้ 25 คะแนน
    จัดรูปภาพประกอบการเขียนเรียงความได้ดี แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. ส่วนนำให้น่าสนใจกว่านี้
    2. ส่วนสรุปยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    3. ยังขาดแหล่งอ้างอิง
    4. แหล่งอ้างอิง สามารถเข้าถึงได้
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. คะแนนที่ได้ 28 คะแนนค่ะ

    ตอบลบ