วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์วังเก่ายะหริ่ง เด็กหญิงฟิรดาวส์ เจ๊ะยอ



ประวัติศาสตร์ วังเก่ายะหริ่ง 




           

            ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้นั้นมีอยู่มากมายซึ่งแต่ละประวัติศาสตร์จะมีเรื่องราวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีความเป็นมาที่ลึกลับ น่าสนใจ มีเสน่ห์ และไม่สามารถอธิบายความงดงามของมันได้อย่างครบถ้วน หากมิได้ไปสัมผัสด้วยตัวเอง ซึ่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ดิฉันนำเสนอ คือประวัติความเป็นมาของวังเก่ายะหริ่ง
            วังเก่ายะหริ่ง นับว่าเป็นวังที่มีอายุนานนับร้อยปี วังเก่าแห่งนี้ตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ ตำบลยามูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานี ปัจจุบันนี้เป็นบ้านพักของทายาทเจ้าเมืองยะหริ่งในอดีตทั้งนี้ยังเป็นสถานที่แวะเที่ยว ชม ความงามของวัง ที่มีโครงสร้างแบบสไตล์ยุโรป ผสมผสานศิลปกรรมพื้นเมือง และชวา  รวมถึงศึกษาความเป็นมาของวังเก่า และชีวประวัติของเจ้าเมืองเก่า วังเก่ายะหริ่ง ตั้งอยู่บริเวณใจกลางเมืองยะหริ่งวังเก่ายะหริ่ง จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สร้างความภาคภูมิใจแก่ชาวยะหริ่งในปัจจุบัน                                                                                                   
              วังยะหริ่งสร้างโดยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม ในปีพ.ศ.2438 ตั้งอยู่หมู่ที่ ตำบลยามู ในเขตจังหวัดปัตตานี ลักษณะรูปทรงของวังเป็นอาคาร 2 ชั้น ครึ่งปูนครึ่งไม้ แบบเรือนไทยมุสลิมผสมกับแบบบ้านแถบยุโรป ตัววังเป็นรูปตัวยู (U) ชั้นบนภายในอาคาร จัดเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ด้านข้างของตัวอาคารทั้ง 2 ด้าน เป็นห้องสำหรับพักผ่อนของ เจ้าเมืองและบุตรธิดาข้างละ 4 ห้อง ชั้นล่างเป็นลานโล่งแบบใต้ถุนบ้าน 











ลักษณะเด่นของบ้านคือ บันไดโค้งแบบยุโรป ช่องแสงประดับด้วยกระจกสีเขียว แดง และน้ำเงิน ช่องระบายอากาศและหน้าจั่วทำด้วยไม้ ฉลุเป็นลวดลายพรรณพฤกษา ตาม แบบศิลปะชวา และศิลปะแบบตะวันตก ทำให้ตัววังสง่างามมาก ในปัจจุบันวังยะหริ่งได้รับ การดูแลจากเจ้าของวังเป็นอย่างดี โดยมีการบูรณะครั้งหลังสุดเป็นปลายปี พ.ศ. 2541 ปัจจุบันมีสภาพสมบูรณ์

"วังแห่งนี้มีอายุยาวนานนับร้อยปี แต่วัตถุและหลักฐานของเรื่องราวตั้งแต่ยุคคุณทวดทุกอย่างยังถูกรวบรวมและจัดวางไว้เหมือนกับในอดีตทุกกระเบียดนิ้ว ทำให้ผู้คนที่นี่ยังรู้สึกว่าวังยะหริ่งไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แม้เวลาจะเปลี่ยนผ่านไปนานสักแค่ไหนก็ตามตวนกูซาบีดะห์ กล่าวพร้อมยิ้มอย่างภูมิใจ เหลียวหลังเลาะอดีต ภาพเขียนสีน้ำมันของบรรพบุรุษต้นตระกูลเจ้าเมืองยะหริ่งถูกเก็บและแขวนไว้อย่างดีบนชั้นสองของตัววัง คุณหญิงวุจจิราเอื้อมมือสุดแขนหยิบลงมาก่อนยื่นให้ผู้มาเยือนได้ชมและสัมผัส พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า วังยะหริ่ง สร้างประมาณ พ.ศ.2438 ตอนปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยผู้สร้างคือพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรคาม เจ้าประเทศราชเมืองยะหริ่ง อันดับ3 ซึ่งเป็นบุตรของพระยาพิบูลเสนานุกิจพิเชษฐ์ภักดี พระยาเมืองยะหริ่งอันดับที่ 2 และพระยาเมืองอันดับแรกคือ "ท่านนิโซ๊ะหรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า "โต๊ะกียะหริ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองปัตตานีซึ่งเป็นประเทศราชของไทย ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการด้วย "ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองให้แก่ไทย 3 ปีต่อ 1 ครั้ง ต้องส่งทหาร(กองทัพ)ไปช่วยรบ
รูปแบบการปกครองดังกล่าวทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเมืองปัตตานีกับไทย เป็นไปอย่างห่างเหิน เนื่องจากความห่างไกลจากราชธานี ประกอบกับความเข้มแข็งทางการเมืองและเศรษฐกิจส่งผลให้เจ้าเมืองต่างๆ คิดแยกตัวจากไทยอยู่เสมอ จึงมีการส่งกำลังจากพระนครลงมาปราบปรามอยู่หลายครั้ง กระทั่งนำไปสู่การใช้นโยบายแบ่งเมืองปัตตานีออกเป็น 7 หัวเมือง ดังมีข้อความในประชุมพงศาวดารฉบับสำคัญ ว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พระยาสงขลา(เถี้ยนอ๋อง)ออกไปแยกหัวเมืองปัตตานีออกเป็น7หัวเมือง คือ เมืองปัตตานี เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี เมืองหนองจิก เมืองรามันห์ เมืองระแงะ และเมืองยะลา การลดอำนาจเมืองปัตตานีส่งผลให้เมืองยะหริ่งมีฐานะเป็นเมืองประเทศราชของไทย โดยมีพระยาเมืองเป็นผู้ปกครอง และขึ้นตรงต่อเมืองสงขลาแทน เธอหยิบ "ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทองเครื่องราชบรรณาการในอดีตให้ชมระหว่างสนทนา ก่อนจะสาธยายให้ฟังอีกว่า สำหรับต้นตระกูลของการสืบเชื้อสายภายในวังยะหริ่ง  สมเด็จะพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทั่งเมื่อเข้าสู่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หัวเมืองปักษ์ใต้เกิดความวุ่นวาย และมีการสืบทราบว่า "ท่านนิโซ๊ะมีเชื้อสายพระยาเมืองปัตตานี พระนครจึงแต่งตั้งให้รับสัญญาบัตรเป็น "พระยาเมืองยะหริ่งเมื่อมาปกครองเมืองได้พยายามจัดระเบียบในการปกครองให้เป็นแบบไทย เช่นคดีถ้อยความที่ต้องตัดสินหรือปรับไหม โดยให้สอดคล้องตามคัมภีร์อัลกุรอ่านและเป็นไปตามพระราชกำหนดกฎหมายไทย จนเป็นแบบอย่างให้เมืองปัตตานีและเมืองรามัน และถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ท่านนิโซ๊ะ มีบุตรธิดาด้วยกัน7คน ปัจจุบันกุโบร์ (ที่ฝังศพ)อยู่ที่ตำบลตันหยงลูโละ บริเวณฝั่งตรงข้ามกับมัสยิดกรือเซะ พระยายะหริ่ง คนต่อมาคือท่านนิเมาะ เป็นบุตรคนที่ 2 ของท่านนิโซ๊ะ ได้รับพระราชทานทินนามเป็น "พระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดีต้นตระกูล "อับดุลบุตรมีบุตรธิดารวม 14 คน เมื่อพระยาพิบูลเสนานุกิจพิชิตเชษฐภักดี ถึงแก่อสัญกรรม บุตรคนที่ 2 คือ "ท่านนิโวะได้รับแต่งตั้งเป็นพระยายะหริ่งคนต่อมามีราชทินนามว่า "พระยาพิพิธเสนามมาตยาธิบดีศรีสุรคราม

วังเก่ายะหริ่ง เป็นหนึ่งในอดีตหัวเมืองสำคัญของดินแดนมลายูที่ยังคงเก็บเรื่องราวเล่าขานสืบสานประวัติศาสตร์จากบรรพชนสู่ลูกหลานเมืองปัตตานีผ่านสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าวังเก่ายะหริ่ง จึงเป็นอีกหนึ่งสถานที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญต่อคนมลายูปัตตานีซึ่งในฐานะลูกหลานมลายูปัตตานี เราควรอนุรักษ์สถาปัตยกรรมอันเป็นมรดกที่ล้ำค่านี้ให้อยู่คู่กับชาวมลายูปัตตานีสืบไป
แหล่งอ้างอิง









        

5 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 22 คะแนน
    สามารถจัดภาพประกอบเรียงความได้ดีค่ะ แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. คำนำ ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่อง
    2. ส่วนเนื้อเรื่อง ต้องจัดลำดับย่อหน้าให้เนื้อหามีความสอดคล้องและชัดเจนถูกต้องกว่านี้ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย
    3. ส่วนสรุปยังไม่สัมพันธ์กับเนื้อหา ยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ครั้งที่2หนูเเก้ไขเเล้วค่ะครู ถ้าบกพร่องส่วนไหนอีก ก็เเจ้งให้ทราบด้วยน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

      ลบ
  2. คะแนนที่ได้ 26 คะแนน
    รูปภาพประกอบการเขียนเรียงความได้ดี แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. ส่วนนำควรเพิ่มเติมเนื้อรื่องให้น่าสนใจกว่านี้
    2. ส่วนสรุปยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. ผมเข้ามาอ่านแล้ว ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวังเก่ายะหริ่ง จะหาโอกาสไปชมครับ

    ตอบลบ
  4. คะแนนที่ได้ 30 คะแนน
    นักเรียนสามารถจัดรูปภาพประกอบการเขียนเรียงความได้ดี นำเรื่องน่าสนใจ เนื้อหาจัดเรียนลำดับเรื่องได้ดี และปิดเรื่องได้น่าสนใจค่ะ

    ตอบลบ