วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

การแต่งงานของชาวมุสลิม


การแต่งงานของชาวมุสลิม


                นิกะห์เป็นพิธีแต่งงานของผู้ทีนับถือศาสนาอิสลาม เริ่มต้นเมื่อชายหญิงตกลงใจกันและฝ่ายชายจะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอเรียกว่า มาโซะมินตะ (หรือมนีแน) การสู่ขอนี้จะตกลงกันระหว่างผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย เกี่ยวกับเรื่องมะฮัว (สินสอดทองหมั้น) และตกลงเรื่องกำหนดวันแต่งงาน (นิกะห์) ประเพณีแต่งงานของชาวมุสลิมนั้น มีประวัติความเป็นมายาวนาน รวมถึงระเบียบและกฏเกณฑ์ต่างๆที่ ยึดปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน  ดัง ที่ทราบกันดีโดยทั่วไปว่า หากว่าที่เจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม  หากต้องการแต่งงานกัน ต้องผ่านการเรียนรู้หลักศาสนาและศรัทธาต่อพระอัลเลาะหฺ  และที่สำคัญต้องมีความรักและยินยอมพร้อมใจที่จะเปลี่ยนศาสนา และยอมเปลี่ยนวิถีชีวิตเดิมๆให้เพื่อคนที่เรารักได้ อย่างเช่นพิธีนิกะห์ของ คุณเป้ย ปานวาด และผู้หมวดป๊อป ที่ฝ่ายชายนับถือศาสนาอิสลาม แต่คุณเป้ย ก็สามารถเข้าถึงหลักของศาสนาและผ่านเงื่อนไงหลัก 5 ข้อมาได้ เพราะความรัก  หลักการศาสนาอิสลามเป็นเช่นนี้ทุกที่ทั่วโลก หากนั้นนอกเหนือจากนั้นเป็นการเพิ่มเติมขึ้นมาเอง อาบน้ำเจ้าสาว จุดเทียนตัดเค้ก การแห่ขันหมากไปมา เจ้าสาว เจ้าบ่าว มีอ้อย และอื่นๆนั้น  เป็นสิ่งอุตริที่ไม่มีอยู่ในอิสลาม มนุษย์สร้างขึ้นมาให้เล่นให้วุ่นวาย และนำมาเหมารวมว่า มันคือพิธีกรรมทางอิสลาม อิสลามไม่สนับสนุนให้ทำ เพราะมันสร้างภาระ และสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ และการเลี้ยงฉลองงานแต่งงานหากมีการเลี้ยงเกิน 3 วันถือเป็นการฟุ่มเฟือยโอ้อวดและท่านนบีไม่สนับสนุนงานเช่นนี้ อิสลามห้ามเรื่องการ โอ้อวดและฟุ่มเพื่อยโดยใช่เหตุ   ท่านนบีกล่าวไว้ว่า อาหารมื้อที่ดีที่สุด คืออาหารในงานนิก๊ะห์ และอาหารที่แย่ที่สุด คืออาหารในงานวลีมะห์ (อาหารงานฉลองงานแต่งงาน)  เนื่องจากเจ้าภาพ มักเชิญเฉพาะคนรวย คนที่มีฐานะทางสังคม ส่วนคนที่ยากไร้ต้องการอาหารประทังชีวิต กลับไม่ได้รับเชิญ  บางกลุ่มชนของอินโดนีเซียนั้นพิธีการมีการเลี้ยงฉลอง 7 วัน และประเพณีแต่ละที่ก็แตกต่างกันไปตามพื้นที่

                        ประเพณีการแต่งงานในศาสนาอิสลาม เริ่มจากการสู่ขอ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องสู่ขอสตรีที่สามารถแต่งงานได้ด้วยเท่านั้น หมายถึงหญิงที่ไม่ได้อยู่ระหว่าง อิดดะฮ (อยู่ในช่วงสามเดือนแรกของการหย่าร้าง) หรือหญิงสามีตาย (ซึ่งต้องรอจนครบสี่เดือนกับสิบวันเสียก่อนจึงจะสู่ขอได้) เมื่อฝ่ายหญิงตอบตกลงและกำหนดมะฮัร คือเงินที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง ตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้องและเงินนั้นจะเป็นสิทธิ์ของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องหาวันแต่งงานตามสะดวก วันแต่งงานเจ้าบ่าวจะต้องยกของหมั้นหรือมะฮัรมาที่บ้านเจ้าสาว หรือนัดวะลีย์และพยานทั้งสองฝ่ายไปเจอกันที่มัสยิดก็ได้
ถึงวันทำพิธีผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะเชิญโต๊ะอิหม่ามหรือโต๊ะครูเป็นประธาน และทำพิธีนิยมทำที่บ้านเจ้าสาวเมื่อเจ้าบ่าวและผู้ใหญ่มาถึงบ้านเจ้าสาว บิดาของเจ้าสาวก็จะไปขอความยินยอมจากเจ้าสาว (ขณะนั้นเจ้าสาวอยู่ในห้อง) โดยบิดาเจ้าสาวกล่าวว่า ข้าจะแต่งงานเจ้ากับ…(ออกชื่อเจ้าบ่าว) เจ้าจะยินยอมหรือไม่เจ้าสาวจะให้คำตอบ ถ้าไม่ยินยอมพิธีจะดำเนินไปไม่ได้ถือว่าผิดหลักศาสนา จากนั้นบิดาฝ่ายเจ้าสาวก็มอบภารกิจ (วอเก) การแต่งงานให้กับโต๊ะอิหม่ามโดยกล่าวว่า  คำเสนอของวะลีย์ คือคำกล่าวของผู้ปกครองฝ่ายเจ้าสาวเพื่อให้เจ้าบ่าวยอมรับการแต่งงานครั้งนี้ 
มีหลักใหญ่ใจความว่า"ฉันนิกาฮท่าน (ชื่อเจ้าบ่าว) กับลูกสาว (ชื่อเจ้าสาว) ด้วยมะฮัรที่ตกลงกันไว้" 
เมื่อวะลีย์กล่าวคำเสนอจบแล้ว เจ้าบ่าวต้องกล่าวคำสนองว่า  
"ผมรับการนิกาหกับนางสาว (ชื่อเจ้าสาว) ด้วยมะฮัรตามที่ตกลงไว้" หลังจากนั้นจะมีการอ่านคัมภีร์อัลกรุอาน (บทที่ว่าด้วยการครองเรือน) ให้บ่าวสาวฟังเพียงแค่้นี้  ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง ตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้องและเงินนั้นจะเป็นสิทธิ์ของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องหาวันแต่งงานตามสะดวก วันแต่งงานเจ้าบ่าวจะต้องยกของหมั้นหรือมะฮัรมาที่บ้านเจ้าสาว หรือนัดวะลีย์และพยานทั้งสองฝ่ายไปเจอกันที่มัสยิดก็ได้ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิง ตามที่ฝ่ายหญิงเรียกร้องและเงินนั้นจะเป็นสิทธิ์ของฝ่ายหญิงแต่เพียงผู้เดียว) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องหาวันแต่งงานตามสะดวก วันแต่งงานเจ้าบ่าวจะต้องยกของหมั้นหรือมะฮัรมาที่บ้านเจ้าสาว หรือนัดวะลีย์และพยานทั้งสองฝ่ายไปเจอกันที่มัสยิดก็ได้แล้วเรียกเจ้าบ่าวเจ้าสาวและพยาน 2 คน พร้อมด้วยผู้จดบันทึกหลักฐาน จากนั้นโต๊ะอิหม่าม หรือผู้ทำพิธีนิกะห์ จะสอนเจ้าบ่าวเจ้าสาวเกี่ยวกับการครองชีวิตคู่ ย้ำเจ้าบ่าวเจ้าสาว   พยานเงินสินสอด เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามจะจับมือเจ้าบ่าวพร้อมกับกล่าวว่า โอ้..(ออกชื่อเจ้าบ่าว) ที่แต่งงานกับ…(ออกชื่อเจ้าสาว) โดยได้รับการมอบฉันทะจากบิดาฝ่ายหญิงแก่ข้าโดยมีค่าสินสอด..(บอกจำนวนสินสอด)” เมื่อโต๊ะอิหม่ามกล่าวจบแล้วเจ้าบ่าวจะกล่าวรับว่า ข้าพเจ้ายอมรับการแต่งงานนี้ โดยมีสินสอดจำนวนดังกล่าวนี้จากนั้นโต๊ะอิหม่ามจะอ่านดูอา เพื่อให้พระอัลลอฮ์ทรงประธานพรแก่คู่บ่าวสาว เสร็จแล้วโต๊ะอิหม่ามจะบอกหลักของการเป็นสามีภรรยาแก่เจ้าบ่าวว่าตามหลักศาสนานั้นผู้เป็นสามีต้องดูแลภรรยาและอยู่รวมกันตามหน้าที่ของสามี
   
              สิ่งที่อิสลามห้ามใครทำและเป็นโทษมหันต์ คือ การเชื่อถือโชคลาง เพราะเป็นเรื่องผิดหลักศาสนาอย่างไม่ควรให้อภัย คนอิสลามจะแต่งงานกันเมื่อไหร่ก็ได้ ยิ่งแต่งงานกันในวันที่คนอื่นไม่แต่งยิ่งดีเพราะเป็นการพิสูจน์ว่าเราไม่เชื่อเรื่องฤกษ์ยาม อีกประการหนึ่งที่ชาวมุสลิมบางพื้นที่อาจลืมก็คือ การแต่งงานของอิสลามจะไม่มีการแห่ใดๆ ทั้งสิ้น ถ้าเห็นมุสลิมแต่งงานแล้วมีการแห่ นั่นคือการแต่งงานของมุสลิมที่ไม่ใช้อิสลาม อิสลามไม่อนุญาตให้คู่รักต่างศาสนาแต่งงานกัน แต่ถ้ารักกันจริงๆ ต้องเข้าไปเป็นอิสลามก่อน โดยการเรียนรู้ศานาให้เข้าใจถึงหลักของอิสลามโดยถ่องแท้จากผู้รู้ เพราะไม่อย่างนั้นจะไม่เข้าสู่เงื่อนไข 5 ข้อของการแต่งงานตามหลักอิสลาม  และถ้าเจ้าสาวนับถือศาสนาอื่นก่อนมารับถือศาสนาอิสลาม หรือคนในครอบครัวยังคงนับถือศาสนาเดิมอยู่     ก่อนการแต่งงานจะต้องแต่งตั้งผู้อื่นให้ทำหน้าที่ผู้ปกครองแทน ผู้แทนอาจเป็นครูที่สอนศาสนาให้ก็ได้ หรือเป็นผู้รู้ที่เคารพนับถือก็ได้   การแต่งงาน เป็นผลตอบสนองทางด้านอารมณ์และจิตใจ ที่มีจากความรักใคร่และความเสน่หา ทั้งจากรูปลักษณ์ภายนอก ความดีจากภายใน และยังเป็นวิถีของการดับอารมณ์เครียดในตัวมนุษย์ที่พึงจะมี อีกทั้งการแต่งงานยังถือเป็นหนทางการพัฒนาจากระดับความใคร่ ไปสู่ความรักอันกลมเกลียวในครอบครัว ศาสนิกชนบางท่านอาจเลือกที่จะไม่แต่งงาน แต่ในความเป็นจริงหากใครมีโกาสได้แต่งงาน ผู้นั้นถือว่าเป็นผู้ที่เชื่อฟังคำสอนของพระอัลเลาห์ได้อย่างสมบูรณ์    การแต่งงานในศาสนาอิสลามถือว่าเป็นเรื่องจริงจัง เพราะการแต่งงานคือพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เกิดจากความยินยอม ของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชายที่จะมาอยู่ร่วมกัน เพราะศาสนาอิสลามถือว่า คู่ครอง ที่แต่งงานด้วย คือเนื้อคู่กันที่จะอยู่ด้วยกันไปจนวันตาย และการแต่งงาน ถือว่าเป็นการปฎิบัติ ตามคำสอน ของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ ไปแล้ว ครึ่งหนึ่ง






วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

ตำนานศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว


ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว

                     ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว หรือที่มีชื่อเป็นทางการว่า ศาลเจ้าเล่งจูเกียง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของ จ.ปัตตานีมา ตั้งแต่โบราณ ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู อำเภอเมือง ปัตตานี ซึ่งเป็นปูชนียสถานอันทรงความศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดปัตตานี เดิมศาลเจ้านี้มีชื่อเรียกว่า "ศาลเจ้าซูก๋ง" ตามหลักฐานที่จารึกอยู่ในศาลเจ้า ปรากฏว่า ตั้งขึ้นเมื่อวันชัยมงคล ปีบวนเละที่ ๒ ศักราชราชวงศ์เหม็ง ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๑๑๗ ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา แม้ศาลเจ้านี้จะตั้งมาเก่าแก่นับได้หลายศตวรรษ แต่ด้วยบุญญาภินิหารของเจ้าแม่หลิมกอเหนี่ยว ศาลเจ้านี้จึงมีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นที่ศรัทธาของสาธุชนเสมอมามิได้ขาด












                          เจ้าแม่เกิดในตระกูล ลิ้ม มีชื่อว่า กอเหนี่ยว พำนักอยู่ในมณฑลฮกเกี้ยน 
                                                          ประเทศจีน เป็นน้องสาวของ

 ลิ้มเต้าเคียน หรือ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม  

               
     

         ประวัติศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวศาลเจ้าเล่งจูเกียง หรือ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว พระหมอ เจ้าแม่ทับทิม ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวจีนและชาวไทยโดยทั่วไปมาก ประวัติการสร้างหรือความเป็นมาของศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว มีการเล่าสืบต่อๆ กันมาเป็นตำนานที่เกี่ยวกับประวัติเมืองปัตตานี จากการศึกษาจากการบันทึกในสมัยราชวงศ์เหม็ง (พ.ศ. 2064-2109) เมื่อประมาณกว่า 400 ปี กล่าวว่า ลิ้มกอเหนี่ยวและพี่ชาย ชื่อลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นชาวเมืองฮุยไล้ แขวงเมืองแต้จิ๋ว เดิมลิ้มโต๊ะเคี่ยมรับราชการอยู่ที่เมืองดังกล่าว
 ครั้งเมื่อสิ้นบุญบิดาแล้วจึงมารับราชการที่เมืองจั่วจิว ในช่วงที่โจรสลัดญี่ปุ่นกำเริบหนัก ทางเมือหลวงได้แต่งตั้งขุนพล เช็ก กี กวง เป็นแม่ทัพเรือปราบสลัดญี่ปุ่น จึงเป็นโอกาสดีของคู่อริที่จะใส่ความลิ้มโต๊ะเคี่ยม ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงหนีไปยังเกาะกีลุ่ง (เกาะไต้หวัน) และหนีต่อไปยังเกาะลูวอน (ฟิลิปปินส์) แต่ต้องปะทะกับกองเรือของสเปนที่ยึดครองอยู่ หลังจากนั้นลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงเดินทางมายังปัตตานี ได้ทำงานเป็นนายด่านเก็บภาษี ต่อมาจึงได้สร้างท่าเรือพาณิชย์แห่งหนึ่งชื่อ “โต๊ะเคี่ยม” ภายหลังลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามมีภรรยาเป็นเชื้อพระวงศ์ ของเจ้าเมืองปัตตานีเป็นที่โปรดปรานของเจ้าเมืองปัตตานีจนได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นหัวหน้าด่านเก็บส่วยสาอากรต่างๆ

                  เมื่อยังเป็นเด็ก สองพี่น้องได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะแขนงต่างๆ จนแตกฉาน ฝ่ายพี่ชายเมื่อโตขึ้นก็ได้เข้ารับราชการ สร้างผลงานปราบโจรสลัดญี่ปุ่นจนได้รับการแต่งตั้งเป็น ขุนพลเซ็กกีกวง คุมกองทัพเรือ แต่ต่อมาเขาถูกใส่ร้ายว่าสบคบกับโจรสลัด จนทางการออกประกาศจับ จึงได้ตีฝ่าวงล้อมของทหารหลวง หนีออกทะเลไปยังเกาะไต้หวัน
         ลิ้มโต๊ะเคี่ยม เห็นว่าทัพหลวงยังคงติดตามโจมตี ประกอบกับถูกโจรสลัดรังควาญอยู่ตลอด จึงเดินทางต่อไปทางเกาะลูซอน (ฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน) แล้วเข้าไปยังเวียดนาม แต่บางตำนานเล่าว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเข้าไปอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยา และภายหลังจึงได้ย้ายมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองปัตตานี ที่ปัตตานี ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ได้ภรรยาเป็นชาวปัตตานีและเข้ารีตเป็นมุสลิมตามภรรยา    
        ฝ่าย ลิ้มกอเหนี่ยว ผู้เป็นน้องสาว เมื่อเห็นว่าพี่ชายขาดการติดต่อ ไม่ได้ส่งข่าวคราวเป็นเวลานาน จนมารดาซึ่งอยู่ในวัยชราล้มป่วยเป็นประจำ ด้วยความกตัญญูจึงอาสาออกเดินทางไปตามพี่ชายให้กลับมาเยี่ยมบ้าน
        ในวันเดินทาง ลิ้มกอเหนี่ยวได้เข้าไปร่ำลามารดา และลั่นสัจจวาจาไว้ว่า หากแม้นพี่ชายไม่ยอมกลับมาหามารดาแล้วไซร้ ตนก็จะไม่ขอมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
 ตนหาใช่เนรคุณทอดทิ้ง มารดาและน้องสาวไม่ แต่เหตุที่ทางการจีนกล่าวโทษว่าสบคบกับโจรสลัด สร้างความอัปยศจนต้องพลัดพรากมาอยู่ที่นี่ ตนอยู่ทางนี้ก็มีภารกิจมากมาย  อีกทั้งได้รับปากกับเจ้าเมืองว่าจะก่อสร้างมัสยิดให้ (มัสยิดกรือเซะ) จึงไม่สามารถกลับไปในขณะนี้ได้

        
ลิ้มกอเหนี่ยว กับญาตินำเรือออกทะเลเป็นเวลาหลายเดือน กระทั่งเข้าเขตเมืองปัตตานี ก็ได้จอดทอดสมอไว้ริมฝั่ง ลิ้มกอเหนี่ยว เดินเข้าไปในเมืองและพูดคุยกับชาวบ้านจนได้ความว่า ลิ้มโต๊ะเคี่ยม พี่ชายยังมีชีวิตอยู่ และได้ดิบได้ดีเป็นใหญ่อยู่ที่นี่จากนั้นผู้เป็นน้องสาว จึงได้เข้าไปหาและชวนพี่ชายให้กลับไปยังบ้านเกิด  แต่ ลิ้มโต๊ะเคี่ยม ไตร่ตรองดูแล้วเห็นว่าหากกลับไปตอนนี้จะสร้างความลำบากให้แก่ตน เนื่องจากยังติดประกาศจับของทางการ ขณะที่ความเป็นอยู่ทางนี้ก็มีความสมบูรณ์ดีอยู่ จึงตัดสินใจกล่าวกับน้องสาวว่า


        
         ลิ้มกอเหนี่ยวเมื่อได้ยินดังนั้น ก็คิดว่าจะหาโอกาสอ้วนวอนพี่ชายให้กลับไปให้จงได้ จึงขอพำนักอยู่ในปัตตานีต่อ

         ในขณะนั้นเจ้าเมืองตานีกำลัง ก่อสร้างมัสยิดเพื่อใช้ประกอบศาสนกิจโดยมอบให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมเป็นนายช่างออกแบบและก่อสร้าง ลิ้มโต๊ะเคี่ยมได้อุทิศกายและใจให้กับงานที่ได้รับมอบหมาย ยิ่งทำให้ลิ้มกอเหนี่ยวเกิดความโกรธและน้อยใจในตัวพี่ชาย พยายามอ้อนวอนพี่ชายให้เห็นแก่มารดาก็ไม่สำเร็จ จึงได้สาบแช่งไว้ว่า แม้พี่ชายจะมีความสามารถในการก่อสร้างเพียงใดก็ตาม แต่ขอให้สร้างมัสยิดนี้ไม่สำเร็จ และหลังจากลิ้มก่อเหนี่ยวพูดจบก็แอบไปผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ด้านข้างมัสยิดที่กำลังก่อสร้างนั้นเอง



              จากนั้นลิ้มโต๊ะเคี่ยมเมื่อสูญเสียน้องสาวก็เสียใจมาก จึงจัดการศพตามประเพณีอย่างสมเกียรติ พร้อมกับสร้างฮวงซุ้ยขึ้นที่ หมู่บ้านกรือเซะ แล้ว ทำการก่อสร้างมัสยิดต่อไปจนเกือบเสร็จอยู่ในขั้นก่อสร้างโดมหลังคา วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ฟ้าผ่าลงมายังโดมที่กำลังสร้างจนเสียหายหมดทั้งๆที่ไม่มีวี่แววพายุฝนแต่ อย่างใด ลิ้มโต๊ะเคี่ยมจึงทำการก่อสร้างโดมหลังคาใหม่ แต่แล้วสิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นอีก คือเกิดฟ้าผ่าลงมายังยอดโดมอีกครั้ง ทำให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมนึกถึงคำสาบแช่งของลิ้มกอเหนี่ยวขึ้นได้ จึงเกิดความท้อใจเลิกล้มการก่อสร้างมัสยิดเพราะคิดว่าคำสาบแช่งของน้องสาวมี ความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก
            
            ผู้คนในสมัยก่อนเล่ากันว่า ลิ้มก่อเหนี่ยว ได้สำแดงความศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวเรือและผู้สัญจรไปมาในแถบ นั้นเสมอ จนเป็นที่เลืองลือไปทั่ว เป็นเหตุให้ประชาชนที่เลื่อมใสศรัทธาได้นำกิ่งต้นมะม่วงหิมพานต์ที่นางใช้ ผูกคอตายมาแกะสลักเป็นรูปบูชาไว้สักการะและสร้างศาลให้เป็นที่ประดิษฐานรูป บูชา พร้อมกับขนานนามว่า ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว”นั้นเอง
       
          ปรากฏว่าเมื่อตั้งศาลแล้ว ก็มีผู้คนหลั่งไหลไปกราบไหว้กันมากมาย ใครมีเรื่องเดือดร้อนก็ไปบนบานให้เจ้าแม่ช่วย บ้างก็กราบไหว้ขอให้ทำมาค้าขายเจริญ  แล้วก็บังเกิดผลตามความปรารถนาแทบทุกคน ทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าแม่ลิ้มก่อเเหนี่ยวเลื่องลือไปยังเมืองต่างๆ









แหล่งอ้างอิง/www.google.co.th/search?q=มัสยิดกรือเซะ

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

ตำนานมะโย่ง วัฒนธรรมของคนมลายู



                                                                               ตำนานมะโย่ง
            

             มะโย่ง  (Mak Yong)  คือศิลปะการละครร่ายรำมลายูชนิดหนึ่ง  ที่มีลักษณะของการผสมผสานทางพิธีกรรม  ความเชื่อ  การละคร  นาฏศิลป์ และดนตรีเข้าด้วยกัน   เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เป็น เอกลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายมลายู   มีความกลมกลืนจนเป็นศิลปะขั้นเลิศของมลายู 
          
            มะโย่งจัดเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นมลายูซึ่งวัฒนธรรมนี้ เป็นการแสดงที่เกิดจากในวังของเมืองปัตตานี เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปี มาแล้วจากนั้นแพร่หลายไปในที่ต่างๆ  ที่สามารถชมกันได้ในรัฐกลันตัน  ตรังกานู  และเคดาห์  (ไทรบุรี)  ซึ่งเป็นรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย  บริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย  คือ  ปัตตานี  ยะลา  และนราธิวาส  ไกลจนถึงเกาะสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซียคนไทยเชื้อสายมาลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกการละเล่นมะโย่งว่า  “เมาะโย่ง”  ตามสำเนียงภาษามลายูถิ่นปัตตานี

                                                         การแต่งกายสำหรับการแสดงมะโย่งมีเอกลักษณ์ที่ดดเด่น 




            เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เป็น เอกลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายมลายูนิยมเล่นกันอย่างแพร่หล่ายแต่ปัจจุบันความนิยมลดลงเพราะมีสื่อความบันเทิงสมัยใหม่มาก การแต่งกายที่โดดเด่น  ตำนานของมะโย่งคล้ายกับมโนราห์ต้องเป็นนักแสดงที่มีความรู้ความชำนาญทั้งการ เล่น ดนตรี ขับร้อง และการร่ายรำ
         มะโย่งเป็นศิลปะที่แสดงเริ่งราวโดยมีการขับร้อง การร่ายรำ และมีดนตรีบรรเลงประกอบการแสดง  การแสดงมะโย่งเป็นการแสดง ๒ รูปแบบคือการแสดงเพื่อความบันเทิงและการแสดงเพื่อพิธีกรรม โดยมีตำนานว่า

 “รายาบือราสะ ครองเมือง บรือดะ ทรงมีพระธีดา พระนามว่า ฆานอสุรี และโอรส(ไม่ปรากฏนาม)โอรสสามารถแปลงกายเป็นสุนัขดำได้ อยู่มาวันหนึ่งพระธิดาและสุนัขดำเสด็จประพาสไปป่าพบบาเตาะ(คนป่า)ซึ่งสามารถร้องเพลงได้ไพเราะจับใจพระธิดา พระธิดาจึงขอเรียนรร้องเพลงด้วย เมื่อเรียนครบเจ็ดวันจึงเสด็จกลับวัง อยู่มาไม่นานฆานอสุรีทรงตั้งครรภ์กับพระเชษฐา เป็นสาเหตุที่ทำให้ทั้งสองถูกไล่ออกจากเมือง ต่อมารายาบือราสะรับสั่งให้ทหารไปฆ่าสุนัขดำและรับเอาพระธิดาพร้อมทั้งพระนัดดากลับเมืองวันหนึ่งพระกุมารล้มเจ็บลง รายาสั่งให้โหรทำนายและรักษาพระนัดดา  โหรให้นำกะโหลกสุนขมาทำเป็นซอ เส้นพระเกศาฆานอสุริยาเป็นสายคันชักซอ เอ็นสุนัขดำเป็นสายซอ เมื่อประกอบเสร็จโหรจึงให้พระกุมารสีซอ ซอมีเสียงดังว่า”พ่อตายแม่ยังอยู่”พระกุมารได้ยินเช่นนั้นก็หายเจ็บไข้ จากนั้นพระกุมารได้ลาพระมารดาไปเรียนสีซอและร้องรำกับบาเตาะปูเตะ เสียงซอที่บาเตาะสอนนั้นมีเสียงดังว่า”เปาะโย่ง”พระนัดดาจึงมีนามว่า เปาะโย่งมาแต่บัดนั้น เมื่อเปาะโย่งกลับถึงเมืองบรือดะแล้ว ได้แสดงความสามารถถวายรายอเปาะโย่งให้คนไปตัดไม้ทำแกระ ทำกลองจากไม้จิกส่วนแกระทำจากไท้ไผ่ พร้อมกับสีซออีคน เสร็จแล้วเปาะโย่งร่ายรำ และร้องเพลงเป็นสบอารมณ์ผู้ชมอย่างยิ่ง เป็นเหตุให้การแสดงประเภทนี้แพร่หลายในเวลาต่อมา”  
  
   มะโย่ง เป็นการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองหรือเพื่อความรื่นเริง กำเนิดของมะโย่งมีผู้สันนิษฐานแตกต่างกันไปหลายกระแส
มะโย่งหรือเมาะโย่ง  เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อสายมลายูในแถบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้แก่ จังหวัดปัตตานี  จังหวัดยะลา  จังหวัดนราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา  นอกจากนี้ยังมีการแสดงมะโย่งใน รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเกดะห์ และรัฐปะลิส ในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะริเยา ในประเทศอินโดนีเซีย  โดยการแสดงมะโย่ง  เป็นศิลปะการร่ายรำที่ผสมผสานทางพิธิกรรม ความเชื่อ  การละคร  นาฏศิลป์ และดนตรีเข้าด้วยกัน ปัจจุบันการแสดงมะโย่งกำลังขาดผู้สืบทอด เนื่องจากบางส่วนเห็นว่าผิดหลักศาสนา อย่างไรก็ตามผู้คนบางส่วนก็ยังให้ความสำคัญและฟื้นฟูอยู่
เวลาที่จะใช้ในการแสดงมะโย่งเป็นละครชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมกันมากในอดีตจัดแสดงเมื่อมีงานมงคลต่างๆของชาวพื้นเมือง เช่น งานมงคลสมรส เข้าสุนัต เมาลิด วันรายอ การแก้บน การสะเดาะเคราะห์และพีกรรมบูชาข้าวเป็นต้น
  
         อย่างไรก็ตาม ถึงแม้วัฒนธรรม มะโย่ง ของคนมลายูนี้กำลังจะสูญหายไปเนื่องจากไม่ได้รับการอนุรักษ์จากผู้คนบางกลุ่ม แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่กำลังสนใจและอนุรักษ์ไว้อยู่ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ศึกษาวัฒนธรรม มะโย่งนี้ของคนมลายูสืบไป

  

 แหล่งอ้างอิง 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%87
 https://sites.google.com/site/looknampattalung/phumipayya-ni-dan-silpkar-saedng/ma-yong
http://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/mak%20yong/mayong2.html