วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ตำนานปืนใหญ่ พญาตานี เด็กหญิงซีตีฟาตีเมาะห์ บินมามะ

เรียงความเรื่อง  ตำนานปืนใหญ่ พญาตานี


                  จังหวัดแต่ละจังหวัดของประเทศไทยในสมัยก่อนล้วนมีวัฒนธรรม ประเพณี การปกครอง ที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับวัฒนธรรม  ประเพณีของคนจังหวัดปัตตานีที่มีทั้งคนไทยพุทธ   มุสลิม และคนไทยเชื้อสายจีน  ซึ่งมีวัฒนธรรม  ประเพณี การปกครองของแต่ละศาสนาที่แตกต่างกันมาก    แต่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้

                        อาณาจักรปัตตานี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในปัจจุบัน ไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าอาณาจักรปัตตานีถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้ก่อตั้ง แต่เท่าที่มีการสันนิฐานไปถึงอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งน่าจะมีอายุราวประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 เดิมอาณาจักรปัตตานีจะนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานซะส่วนใหญ่  แต่ในพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาอิสลาม และหลังจากได้เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาอิสลามแล้ว อาณาจักรปัตตานีมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก บางช่วงอาณาจักรได้แผ่ขยายไปถึงรัฐกลันตันและตรังกานู ตอนกลางของมาเลเซีย และหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ศรีวังสา อาณาจักรปัตตานีก็เริ่มเสื่อมลง จนตกอยู่ในอำนาจของสยามในปี พุทธศักราช 2329 และถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสยาม


ราชวงศ์ศรีวังสา คือ ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรปัตตานีตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2000 จนถึง พ.ศ.2231

                                                  
มณฑลปัตตานีในปี พ.ศ.2449-2466

                             ปืนใหญ่พญาตานีเป็นปืนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่มาก มีอายุราวประมาณ 400 ปี ปืนใหญ่พญาตานีมีความยาว 3 วา 1ศอก 1 คืบ 2 นิ้วครึ่ง ปากกระบอกกว้าง 11 นิ้ว เป็นปืนใหญ่ที่มีการหล่อด้วยสำริด มีหูระวิง ใช้จับทั้งสองข้าง ท้ายปืนหล่อเป็นรูปสังข์ มีการสันนิษฐานเรื่องผู้สร้างไว้ 3 พระองค์ คือ สุลต่านอิสมาเอล ชาฮ์  ราชินีฮีเยา ราชินีบีรู  และยังมีสำนวนหนึ่งที่ได้กล่าวว่า  พญาอินทรา เป็นผู้สร้าง  ปืนใหญ่เป็นภาพสะท้อนถึงความเป็นอยู่และความเจริญรุ่งเรืองของรัฐปัตตานีในอดีต ที่เคยมีการปกครองโดยราชินี เพื่อต่อต้านการรุกรานจากอาณาจักรใหญ่ๆ ต่างๆ  เช่น  อาณาจักรอยุธยาเป็นต้น   ปัจจุบันพญาตานีตั้งแสดงอยู่ที่กระทรวงกลาโหม           
    

ปัตตานี - ชาวปัตตานีแห่ชมปืนใหญ่พญาตานีจำลอง

              รัฐปัตตานีได้สร้างปืนใหญ่ขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก และกองทัพต่างๆในสมัย  ราชินีฮีเยาครองราชย์ รัฐปัตตานีเป็นศูนย์กลางการค้าอาวุธให้กับสยามและญี่ปุ่น  ตำนานของของปืนใหญ่พญาตานีไม่มีหลักฐานใดยืนยันแน่นอนว่าใครเป็นผู้สร้าง                     

               “ หนังสือสยาเราะห์เมืองตานี ของนายหะยีหวัน  หะซัน  กล่าวถึงเหตุที่พญาอินทิราสร้างปืนว่า นายเรือสำเภาจีนได้นำปืนและกระสุนปืนมาถวาย ทำให้สุลต่านเกิดความละอายต่อชาวจีนผู้นั้น     เนื่องจากพระองค์มีฐานะเป็นเจ้าผู้ครองนคร แต่หาได้มีอาวุธปืนไว้สำหรับป้องกันบ้านเมือง เหมือนนายเรือมีไว้ป้องกันตนและสำเภา ต่อไปจะเป็นที่ดูหมิ่นแก่ชาวต่างประเทศ จึงเรียกประชุมมุขมนตรี ให้จัดหาช่างและทองเหลืองมาหล่อปืนให้ได้ภายในระยะเวลา ๓ ปี และให้ทำประกาศห้ามพ่อค้านำทองเหลืองออกนอกเมือง "     

     เอกสารชิ้นนี้กล่าวถึงผู้สร้างว่าเป็นชาวโรมัน ต่างจากตำนานเรื่องอื่นๆ ที่อ้างว่าเป็นชาวจีน
               " เมื่อได้ทองเหลืองพอเพียงแก่การหล่อแล้ว พญาอินทิราได้ให้นายช่างชาวโรมัน ชื่ออับดุลซามัค มาเป็นผู้ทำการหล่อปืน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนรอมดอน ปีชวดนักษัตร ฮิจยาเราะห์ ๗๘ " (แลหลังเมืองตานี, อนันต์ วัฒนานิกร, ๒๕๒๘)                              
                  ถึงแม้ว่าตำนานพญาตานี เป็นตำนานที่ไม่ค่อยมีหลักฐานยืนยันชัดเจนมากนัก แต่ก็ไม่ทำให้ชาวรัฐปัตตานีหมดความศรัทธา เพราะชาวปัตตานียังคงศรัทธาและมีความห่วงต่อโบราณวัตถุนี้เป็นอย่างมาก ทั้งยังมีความสำคัญกับต่อชาวปัตตานีแล้ว เรายังสามารถศึกษาความเป็นอยู่และความเจริญรุ่งเรืองของคนในอดีตที่อาจจะมีสายเลือดเดียวกับปู่ ย่า หรือ พ่อแม่ของเรา
แหล่งอ้างอิง

3 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 20 คะแนน
    สามารถจัดภาพประกอบเรียงความได้ดีค่ะ แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. คำนำของบทความ ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่อง
    2. ส่วนเนื้อเรื่องยังน้อยเกินไป ควรให้มีหลากหลายประเด็นกว่านี้ เพื่อให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  2. คะแนนที่ได้ 26 คะแนน
    จัดรูปภาพประกอบการเขียนเรียงความได้ดมาก แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. ส่วนนำ เนื้อเรื่อง สรุป ต้องจัดลำดับย่อหน้าให้เนื้อหามีความชัดเจนถูกต้องกว่านี้ เพื่อสามารถสื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย
    2. ส่วนสรุปยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    3. แหล่งอ้างอิง สามารถเข้าถึงได้
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. คะแนนที่ได้ 30 คะแนนค่ะ

    ตอบลบ