วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ลิเกฮูลู (แบมะ ยะหา) เด็กชายยาซิด สืบศิริ

                                                                      ลิเกฮูลู ( แบมะ ยะหา )

       
     สวัสดีครับ เพื่อนๆผู้อ่านที่รักการอ่านทุกคน และผู้รักษาวัฒนธรรมชนบททุกท่าน วัฒนธรรมไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตามบริบทของภาคต่างๆวัฒนธรรม ผมขอเสนอวัฒนธรรมภาคใต้(ใต้สุดสยาม) นั่นคือ ลิเกฮูลู โดย มะยะหา ผู้ชายคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงในด้านศิลปกรรมสาขาการแสดง “ลิเกฮูลู ก่อนที่เราจะรู้จักความเป็นมาของผู้ชายท่านนี้ ผมขอเล่าความหมายของคำว่า "ลิเกฮูลู" ลิเกฮูลู คือ การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้ จะเป็นที่มาของชาวมลายู ในการละเล่นของลิเกฮูลูที่ผมจะเล่าที่เป็นลิเกฮูลูของจังหวัดยะลา หากผู้อ่านเคยได้ชมการแสดงลิเกฮูลู ของจังหวัดอื่นๆที่ไม่ใช่จังหวัดยะลา เรามาดูกันว่ามีความแตกต่างจากที่เราเคยดูมีความแตกต่างอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลากับผู้อ่าน เรามาอ่านด้วยกันเลยครับ

นายหะมะ แบลือแบ (แบมะยะหา)

          นายหะมะ แบลือแบ หรือเรียกกันว่า ( แบมะ ยะหา ) เกิดในหมู่บ้าน ปูแล ต.บาโร๊ะ อ.ยะหา จ.ยะลา เกิดในครอบครัวเกษตรกร จบการศึกษาในระบบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนราษฏร์อุทิศ (บ้านปูแล) จากนั้น เขาได้ศึกษานอกระบบจบหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ ๓ และหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ ระดับ ๔ จากกรมการศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดยะลา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ และ ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ คุณหะมะเกิดแรงบันดาลใจสนใจในศิลปะการแสดง ในขณะที่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ได้ไปชมการแสดง ลิเกฮูลู คณะนายกูมะ ลาลอ ลิเกฮูลู จากอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ในงานประจำปีของอำเภอ ต่อมาเริ่มฝึกการแสดงโดยชักชวนเพื่อนๆ ในโรงเรียนฝึกแสดงเลียนแบบการง แสดงลิเกฮูลู รุ่นพี่ ฝึกร้องประกอบดนตรี ซึ่งประกอบด้วย รำมะนา ๑ คู่ ฆ้องใหญ่ ๑ ลูก โหม่ง ๑ คู่ ฉิ่ง ๑ คู่ จนเกิดความชำนาญและได้ออกแสดงครั้งแรกให้เพื่อน นักเรียนชม และได้พัฒนาการแสดงตลอดเวลา จนเป็นที่ยอมรับและเป็นที่นิยมทั่วไป และในต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้จัดตั้งคณะ "ลิเกฮูลู" ชื่อ คณะ "มะ ลูกทุ่ง" หรือ "มะ ยะหา" ตระเวรแสดงทั่วพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ชื่อเสียงผลงานเป็นที่รู้จัก ได้รับความนิยมจากประชาชนเป็นอันมาก นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบัน คณะลิเกฮูลู "มะ ยะหา" ได้รับเชิญจากสถานีโทรทัศน์ช่อง ๑๑ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กรมประชาสัมพันธ์ให้แสดง "ลิเกฮูลู" รณรงค์ในเรื่องต่างๆ ได้แก่ เรื่องการศึกษา การต่อต้านยาเสพติด ภัยโรคเอดส์ การรักประเทศชาติ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร สมาชิกวุฒิสภา และอื่นๆ เป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังได้รับเชิญจากกองพิจการพลเรือน กองบัญชาการผสมพลเรือนตำรวจทหารที่ ๔๓ (พตท ๔๓) ร่วมกับโครงการทักษิณพัฒนา กองทัพภาคที่ ๔ ได้ประสานขอความร่วมมือให้คณะลิเกฮูลู "มะ ยะหา" ไปแสดงให้ประชาชนในพื้นที่เป้าหมายตามที่กองทัพกำหนด ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อใช้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านเป็นสื่อเชิญชวนรณรงค์ในด้านสังคม และจิตวิทยามวลชน เป็นการช่วยเหลือกิจกรรมของรัฐโดยไม่คิดค่าตอบแทนอีกด้วย
          คุณหะมะได้เล่าว่าจากประสบการณ์ที่ได้คลุกคลีกับสังคมการแสดงในวงวิชาชีพศิลปิน ทำให้เข้าใจสภาพปัญหา ความมั่นคงในอาชีพการแสดงของศิลปินเป็นอย่างดี คุณหะมะจึงเป็นแกนนำร่วมกับ สำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา ๒ จัดประชุมสัมมนาหัวหน้าคณะการแสดงพื้นบ้านลิเกฮูลูจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นผลจากการประชุมดังกล่าวมีผลให้จัดตั้ง "ชมรมลิเกฮูลูจังหวัดชายแดนภาคใต้" ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ครูหะมะ แบลือแบ ได้รับคัดเลือกเป็นประธานชมรม วัตถุประสงค์ของชมรมเพื่อให้การส่งเสริมและจัดสวัสดิการแก่สมาชิกตลอดจนพัฒนาการแสดงศิลปะพื้นบ้านลิเกฮูลูให้ได้รับความนิยมเป็นที่ยอมรับแก่สังคมทุกวงการ

ภาพการแสดงลิเกฮูลู ของ (แบมะ ยะหา)


      การละเล่นพื้นบ้านในพื้นที่ชายแดนใต้ จะมีการละเล่นอีกหลายอย่างที่เรายังไม่รู้ การละเล่นพี้นบ้านถือว่าเป็นมรดกทางศิลปกรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งถือว่ามีความสำคัญกับประเทศ เพราะแต่ละวัฒนธรรมประเพณีต่างๆที่สืบทอดกันมานั้นจะมีประโยชน์ต่อประเทศชาติ จะทำให้นักท่องเที่ยวที่ได้เที่ยวในประเทศเรา นักท่องเที่ยวเหล่านั้นจะได้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเราที่จะแตกต่างกับประเทศของเขา เพราะฉะนั้น ตัวเราเองจำเป็นที่จะต้องรักษาการละเล่นพี้นบ้าน ประเพณี วัฒนธรรม ของสังคมเรานั้นกันต่อไป  

อ้างอิง
     เนื้อหา / ภาพประกอบ 
http://www.souththaiwisdomscholarsassociation.com/sites/

4 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 22 คะแนน
    ภาพประกอบเรียงความดีมากค่ะ แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. คำนำของบทความสั้นเกินไป
    2. ส่วนสรุปให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องกว่านี้
    3. จัดเรียง ส่วนนำ เนื้อเรื่อง สรุป ให้ชัดเจนกว่านี้
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  2. คะแนนที่ได้ 27 คะแนน แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. จัดภาพประกอบการเขียนเรียงความได้ดีมาก
    2. ปรับแก้คำนำเรื่อง ให้น่าสนใจกว่านี้นะค่ะ
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. อัยย่ะ!!!!ได้ตั้ง 27 แหนะ

    ตอบลบ
  4. คะแนนที่ได้ 29 คะแนนค่ะ

    ตอบลบ