วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

ตำนานมะโย่ง วัฒนธรรมของคนมลายู



                                                                               ตำนานมะโย่ง
            

             มะโย่ง  (Mak Yong)  คือศิลปะการละครร่ายรำมลายูชนิดหนึ่ง  ที่มีลักษณะของการผสมผสานทางพิธีกรรม  ความเชื่อ  การละคร  นาฏศิลป์ และดนตรีเข้าด้วยกัน   เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เป็น เอกลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายมลายู   มีความกลมกลืนจนเป็นศิลปะขั้นเลิศของมลายู 
          
            มะโย่งจัดเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นมลายูซึ่งวัฒนธรรมนี้ เป็นการแสดงที่เกิดจากในวังของเมืองปัตตานี เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปี มาแล้วจากนั้นแพร่หลายไปในที่ต่างๆ  ที่สามารถชมกันได้ในรัฐกลันตัน  ตรังกานู  และเคดาห์  (ไทรบุรี)  ซึ่งเป็นรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย  บริเวณจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย  คือ  ปัตตานี  ยะลา  และนราธิวาส  ไกลจนถึงเกาะสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซียคนไทยเชื้อสายมาลายูในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรียกการละเล่นมะโย่งว่า  “เมาะโย่ง”  ตามสำเนียงภาษามลายูถิ่นปัตตานี

                                                         การแต่งกายสำหรับการแสดงมะโย่งมีเอกลักษณ์ที่ดดเด่น 




            เป็นการละเล่นพื้นเมืองที่เป็น เอกลักษณ์ของชาวไทยเชื้อสายมลายูนิยมเล่นกันอย่างแพร่หล่ายแต่ปัจจุบันความนิยมลดลงเพราะมีสื่อความบันเทิงสมัยใหม่มาก การแต่งกายที่โดดเด่น  ตำนานของมะโย่งคล้ายกับมโนราห์ต้องเป็นนักแสดงที่มีความรู้ความชำนาญทั้งการ เล่น ดนตรี ขับร้อง และการร่ายรำ
         มะโย่งเป็นศิลปะที่แสดงเริ่งราวโดยมีการขับร้อง การร่ายรำ และมีดนตรีบรรเลงประกอบการแสดง  การแสดงมะโย่งเป็นการแสดง ๒ รูปแบบคือการแสดงเพื่อความบันเทิงและการแสดงเพื่อพิธีกรรม โดยมีตำนานว่า

 “รายาบือราสะ ครองเมือง บรือดะ ทรงมีพระธีดา พระนามว่า ฆานอสุรี และโอรส(ไม่ปรากฏนาม)โอรสสามารถแปลงกายเป็นสุนัขดำได้ อยู่มาวันหนึ่งพระธิดาและสุนัขดำเสด็จประพาสไปป่าพบบาเตาะ(คนป่า)ซึ่งสามารถร้องเพลงได้ไพเราะจับใจพระธิดา พระธิดาจึงขอเรียนรร้องเพลงด้วย เมื่อเรียนครบเจ็ดวันจึงเสด็จกลับวัง อยู่มาไม่นานฆานอสุรีทรงตั้งครรภ์กับพระเชษฐา เป็นสาเหตุที่ทำให้ทั้งสองถูกไล่ออกจากเมือง ต่อมารายาบือราสะรับสั่งให้ทหารไปฆ่าสุนัขดำและรับเอาพระธิดาพร้อมทั้งพระนัดดากลับเมืองวันหนึ่งพระกุมารล้มเจ็บลง รายาสั่งให้โหรทำนายและรักษาพระนัดดา  โหรให้นำกะโหลกสุนขมาทำเป็นซอ เส้นพระเกศาฆานอสุริยาเป็นสายคันชักซอ เอ็นสุนัขดำเป็นสายซอ เมื่อประกอบเสร็จโหรจึงให้พระกุมารสีซอ ซอมีเสียงดังว่า”พ่อตายแม่ยังอยู่”พระกุมารได้ยินเช่นนั้นก็หายเจ็บไข้ จากนั้นพระกุมารได้ลาพระมารดาไปเรียนสีซอและร้องรำกับบาเตาะปูเตะ เสียงซอที่บาเตาะสอนนั้นมีเสียงดังว่า”เปาะโย่ง”พระนัดดาจึงมีนามว่า เปาะโย่งมาแต่บัดนั้น เมื่อเปาะโย่งกลับถึงเมืองบรือดะแล้ว ได้แสดงความสามารถถวายรายอเปาะโย่งให้คนไปตัดไม้ทำแกระ ทำกลองจากไม้จิกส่วนแกระทำจากไท้ไผ่ พร้อมกับสีซออีคน เสร็จแล้วเปาะโย่งร่ายรำ และร้องเพลงเป็นสบอารมณ์ผู้ชมอย่างยิ่ง เป็นเหตุให้การแสดงประเภทนี้แพร่หลายในเวลาต่อมา”  
  
   มะโย่ง เป็นการแสดงเพื่อเฉลิมฉลองหรือเพื่อความรื่นเริง กำเนิดของมะโย่งมีผู้สันนิษฐานแตกต่างกันไปหลายกระแส
มะโย่งหรือเมาะโย่ง  เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อสายมลายูในแถบสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้แก่ จังหวัดปัตตานี  จังหวัดยะลา  จังหวัดนราธิวาส และบางส่วนของจังหวัดสงขลา  นอกจากนี้ยังมีการแสดงมะโย่งใน รัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐเกดะห์ และรัฐปะลิส ในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะริเยา ในประเทศอินโดนีเซีย  โดยการแสดงมะโย่ง  เป็นศิลปะการร่ายรำที่ผสมผสานทางพิธิกรรม ความเชื่อ  การละคร  นาฏศิลป์ และดนตรีเข้าด้วยกัน ปัจจุบันการแสดงมะโย่งกำลังขาดผู้สืบทอด เนื่องจากบางส่วนเห็นว่าผิดหลักศาสนา อย่างไรก็ตามผู้คนบางส่วนก็ยังให้ความสำคัญและฟื้นฟูอยู่
เวลาที่จะใช้ในการแสดงมะโย่งเป็นละครชาวไทยมุสลิมภาคใต้นิยมกันมากในอดีตจัดแสดงเมื่อมีงานมงคลต่างๆของชาวพื้นเมือง เช่น งานมงคลสมรส เข้าสุนัต เมาลิด วันรายอ การแก้บน การสะเดาะเคราะห์และพีกรรมบูชาข้าวเป็นต้น
  
         อย่างไรก็ตาม ถึงแม้วัฒนธรรม มะโย่ง ของคนมลายูนี้กำลังจะสูญหายไปเนื่องจากไม่ได้รับการอนุรักษ์จากผู้คนบางกลุ่ม แต่ก็ยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่กำลังสนใจและอนุรักษ์ไว้อยู่ เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ศึกษาวัฒนธรรม มะโย่งนี้ของคนมลายูสืบไป

  

 แหล่งอ้างอิง 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%87
 https://sites.google.com/site/looknampattalung/phumipayya-ni-dan-silpkar-saedng/ma-yong
http://download.clib.psu.ac.th/datawebclib/exhonline/mak%20yong/mayong2.html


3 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 20 คะแนน
    สามารถจัดภาพประกอบเรียงความได้ดีค่ะ แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. คำนำของบทความ ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่อง
    2. ส่วนเนื้อเรื่องยังน้อยเกินไป สามารถเพิ่มประเด็นได้หลากหลายกว่านี้
    3. ส่วนสรุปยังขาดความเป็นเอกภาพ ยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  2. คะแนนที่ได้ 25 คะแนน แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. ควรแทรกภาพประกอบให้หลากหลายกว่านี้ เพื่อให้การเขียนเรียงความน่าสนใจ
    2. ควรจัด ส่วน คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป ให้ชัดเจน กว่านี้
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. คะแนนที่ได้ 29 คะแนน

    ตอบลบ