วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

ปัตตานีเมืองแห่งมนต์เสน่ห์ของชาวมุสลิม



                             ปัตตานีเมืองแห่งมนต์เสน่ห์ ที่หลากหลายทางด้านวัฒนธรรม อาหารการกิน และวิถีชีวิต
              ปัตตานีเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลตะวันออกของภาคใต้ติดกับทะเลจีนใต้ หรืออ่านไทย มีพื้นที่ประมาณ 1,640.356 ตารางกิโลเมตร มีแม่น้ำที่สำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำปัตตานีและแม่น้ำสายบุรี เป็นจังหวัดทีมีความเจริญรุ่งเรือนมากในฐานะเป็นเมืองหลวงชองอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งเป็นรัฐอิสระของชาวไทยพุทธ ในพุทธศตวรรษที่ 7 มีอาณาเขต ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส  รัฐกลันตัน กับรัฐตรังกานูในประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันยังมีซากเมืองเก่าในยุคนั้นปรากฏให้เห็นที่อำเภอยะรัง 
                 กล่าวกันว่าเดิมนั้น จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาสเป็นดินแดนส่วนที่แยกมาจากรัฐมลายู -อิสลาม    ทีมีชื่อว่า นครรัฐปัตตานี ในอดีตซึ่งหากนับย้อนเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ต่อไปอีกระยะหนึ่ง จะพบว่าปัตตานีเป็นดินแดนแห่งราช-อาณาจักรฮินดู-พุทธ หรือฮินดู-ชวา ทีมีชื่อว่า ราชอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งแบ่งยุคอารยธรรมได้เป็น 2     ยุคสมัย  คือ   ยุคแรก นับตั้งแต่ชาวลังกาสุกะ ยังเป็นคนที่นับถือลัทธิภูตวิญญาณ พราหมณ์ ฮินดู และพุธเรื่อยมา ถือเป็นช่วงที่ศาสนาอิสลามเริ่มมาแพร่สู่ราชอาณาจักรปัตตานี พ.ศ.2043 ยุคที่สอง นับตั้งแต่กษัตริย์ปัตตานีเริ่มนับถือศาสนาอิสลาม หรือสมัยวัฒนธรรมอิสลามจนถึงช่วงที่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอกประชาธิปไตย (พ.ศ. 2043-2475)   เมื่อชาวปัตตานีนับถือศาสนาอิสลามและนิยมวัฒนธรรมอิสลาม (พ.ศ. 2043-2475) นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้นักการศาสนาอิสลามในปัตตานี สามารถแพร่แนวคิดของศาสนาอิสลามได้อย่างสะดวกขึ้น และประสบความสำเร็จสูงสุดเมือ   เชค ซาอิค นักการศาสนาอิสลามจากเมืองปาไซ สามารถโน้มน้าวกษัตริย์ราชวงศ์วังสาชื่อ พญาตูนากะปาให้ยอมนับถือศาสนาอิสลามได้ เมื่อ พ.ศ. 2006 และทรงเปลี่ยนพระนามเป็นสุลต่านอิสมาอิล ซาฮ์ ซิลลุลอฮ์ ต่อจากนั้นมาปัตตานีจึงเป็นที่รู้จัก และเป็นที่ยอมรับกันในนาม ปัตตานีดารุสสลาม หรือปัตตานีนครรัฐแห่งสันติภาพ  แม้ว่าประชาชนชาวปัตตานีในระดับชาวบ้าน จะเปลี่ยนเป็นมุสลิม  ก่อนหน้ากษัตริย์ของตนประมาณ 300 ปีมาแล้ว แต่การที่ตัดสินใจนับถือศาสนาอิสลามของกษัตริย์ในครั้งนั้น ทำให้อาณาจักรปัตตานีมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบเทวาธิราช เป็นสุลต่านตามแบบอิสลาม
                      ในปี พ.ศ. 24489 รัฐบาลสยามประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีมีสุเหเทศาภิบาลที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลเป็น     คนปกครอง มีเมืองรวมอยู่ในมณฑลปัตตานี4 เมือง คือ เมืองปัตตานี  (รวมเมืองหนองจิก ยะหริ่ง และปัตตานี)  ยะลา (รวมเมืองรามัน และยะลา) สายบุรี และระแงะ ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ได้ยกฐานะเมืองทั้งสีเป็นจังหวัดทำให้ปัตตานี ยะลา สายบุรี และนราธิวาส มีฐานะเป็นจังหวัดตั้งแต่ พ.ศ. 2465 เป็นต้นมา  ในสมัยมณฑลเทศาภิบาล อำนาจและบทบาทของเจ้าเมืองในระบบเดิมซึ่งมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2043  ในปี2474 รัฐบาลประกาศยกเลิกมณฑลปัตตานี และยุบจังหวัดสายบุรี ลดฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปัตตานี โดยรวมจังหวัดปัตตานี ยะลาและระแงะ ต่อมาในปี พ.ศ.2476 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดระเบียบราชการส่วนภูมิภาค แบ่งการปกครองออกเป็นจังหวัด และอำเภอ ทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีฐานะเป็นจังหวัดในระบบราชการบริหารส่วนภูมิภาค และมี...ราชการจังหวัด เป็น...บริหารการปกครอง ตั้งแต่ พ.ศ. 2476 เป็นต้นมาจนถึง  ปัจจุบัน  

                  ตัวอย่างภาพ ซากเมืองเก่าในยุคนั้นและมัสยิดกรือเซะ ที่ยังปรากฎให้เห็น ณ ปัจจุบัน


แหล่งอ้างอิง  หนังสื่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและหนังสื่อประวัติศาสตร์จังหวัดปัตตานี

3 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 20 คะแนน แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. จัดเรียงภาพประกอบเรียงความให้สวยงามกว่านี้
    2. คำนำของบทความ ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้
    3. ส่วนสรุปยาวเกินไป ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหา และยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  2. คะแนนที่ได้ 26 คะแนน แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. จัดเรียงภาพเรียงภาพประกอบการเขียนเรียงความให้น่าสนใจกว่านี้
    2. ส่วนสรุปยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    3. แหล่งอ้างอิง สามารถเข้าถึงได้
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. คะแนนที่ได้ 29 คะแนน

    ตอบลบ