วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ตำนาน เรื่อง อำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค

      สามจังหวัดชายแดนใต้มีอาณาเขตที่ติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านของเรา คือประเทศ มเลเซีย สามจังหวัดชายแดนใต้มีประวัติความเป็นมาและเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆมากมาย รวมถึงจังหวัดปัตตานีก็มีเช่นกัน อาทิ ตำนานเรื่อง อำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค ก็เป็นตำนานเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเช่นกัน เป็นตำนานเกี่ยวกับบรรพบุรุษของที่ยอมสละเวลา แรงกายแรงใจมาปฏิบัติหน้าที่ในจังหวัดปัตตานี 

          ประวัติส่วนตัวของท่าน  อำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค

     อำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค  เดิมชื่อ ทอง คุปตาสา ( ได้รับพระราชทานนามสกุลในราชกาลที่   ๖ ) เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ เดือน พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๒๖ ที่บ้านกะปิ ตำบล น้ำตาล อำเภอ จันทร์บุรี จังหวัด สิงห์บุรี บิดาชื่อ นายบุญธรรม มารดาชื่อ นางสุน ภรรยาชื่อ สิน มีบุตรธดา รวม ๖ คน พระยาพิบูลพิทยาพรรคถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๓ เดือน กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๗ รวมอายุ ๘๓ ปี พระยาพิบูลพิทยาพรรคได้เข้าศึกษาที่โรงเรียนประจำอำเภอสิงห์บุรี ต่อมาย้ายไปศึกษาที่กรุงเทพมหานคร ที่โรงเรียนมัธยมหอวังแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็งแห่งสุดท้าย เมื่อเสร็จการศึกษาแล้วก็เข้ารับราชการครูในกระทรวงกรรมการ เป็นครั้งแรกในปี พุทธศักราช ๒๔๔๓ ตำแหน่งครูรอง ณ โรงเรียนวัดราชบพิธ
 ( รูปที่ท่านกำลังรับราชการอยู่ )


 (รูปที่ราชการที่ ๖ ทรงมาเยี่ยมราษฎรที่อำเภอมะกรูด )

 ( ห้องทำงานของท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค )
    
      งานอดิเรกของท่านทางการศึกษามีหลายประการ อาทิ สร้างตำราเรียนอ่านเขียนหนังสือไทยเบื้องต้นสำหรับเด็กมุสลิมในจังหวัดปัตตานีให้ผู้ใหญ่และเด็กที่เรียนภาษาไทยเป็นครูสอนให้ และอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคได้เปิดโรงเรียนกสิกรรมที่เขาตูมและที่ตันหยงมัสเพื่อให้เยาวนไทยนั้นตระหนักถึงคามสำคัญในด้านกสิกกรมด้วย พุทธศักราช ๒๔๗๖ อำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคได้ลาออกจากราชกาลเนื่องจากในเวลาช่วงนั้นมีพระราชบัญญัติให้ยุบมณฑลทั่วราชอาณาจักรไทย อีกทั้งท่านประสงค์จะพักผ่อนหลังจากมุ่งมั่นในการทำงานมานาน อำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด คือ ชั้นเหรียญพระบรมราชาภิเษก ราชการที่ ๗ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙
                                                           ( นิทรรศการประกวดภาพถ่าย )

 ( ของใช้สวนตัวของท่านท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค )

 (ครื่องใช้สวนตัวของท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค )

( ห้องเก็บยาสมุนไพรทั้งหมด )
     
     หลังจากลาออกมาจากราชการแล้วท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคได้กลับมาอาศัยอยู่ที่ปัตตานีเหมือนเดิม โดยมีบริษัติการค้าหลายแห่งต้องการที่จะให้ท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคเข้าร่วมงานด้วย ท่านท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคได้ปฎิเสธในระยะต้น แต่ต่อมาท่านท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคได้ตกลงใจว่าจะร่วมงานกับบริษัติประชีวิตบูรพา เพราะท่านเห็นว่าเป็นการช่วยส่วนรวมทางหนึ่ง จากความสามารถในการทำงานของท่าน ท่านจึงได้รับรางวัลตุ๊กตาทองเป็นเวลา ๓ สมัย้อนกัน และได้รับเกียรติบัตรชมเชยจากบริษัตินั้นๆ ในระหว่างนี้ท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคท่านห็ยังคงเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของบ้านเมืองงานทางสังคม และทางการศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ท่านนายกชุมนุมนิสดเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรกและเป็นประธานสภาจังหวัดปัตตานีคนแรกตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๕๙๘.
( รูปที่ท่านได้ถ่ายไว้ เป็นรูปมัสยิดกลางปัตตานี )

( ทองเเดงแกะสลัก แกะสลักเป็นรูปช้างฝูงใหญ่ )

( เครื่องใช้สำหรับการทำงาน )

          ประวัติความเป็นมาของเรือน อำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค
  
       เรือนอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค เป็นบ้านไม้หลังใหย่ที่สะท้อนให้เราเห็นถึงความสามารถของเจ้าของและนายช่างในการผสมผสานวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมตะวันตกได้อย่างกลมกลืนกันและสวยงามมากขึ้นโดยผู้เป็นเจ้าของคือ อำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรค ( ทอง คุปตาสา ) ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการของจังหวัดปัตตานีและกรรมการของจังหวัดนครศรีธรรมราช
       บ้านหลังนี้สร้างโดยช่างที่เป็นชาวจีน เสร็จประมาณปี พุทธศักราช ๒๔๗๖ เป็นปีที่อำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคลาออกจากราชการ เดิมบ้านหลังนี้เคยตั้งอยู่เลขที่ ๓ ถนนสฤษดี่ บ้านหลังนี้หันมาทางทิศใต้เยื้องงกับโรงพยาบาลปัตตานีเก่าทิศตะวันออกคลองสามัคคี ด้านหลังบ้านติดถนนโรงเรียนเหล้าสาย ข บ้านตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ ซึ่งท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคใช้ปลูกพืชผัก ผลไม้ ดอกไม้นานาชนิด จนบ้านและบริเวณบ้านนั้นเต็มไปด้วยพืชพันธ์ต่างๆเเละเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในนามว่า
 '' บ้านสวน ''
       เรือนอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคหลังนี้สร้างด้วยไม้เกือบทั้งหลัง ๒ ชั้น สูงจากพื้นดินประมาณ ๓๗๐ ซม. มีเนื้อที่ชั้นล่างและชั้นบนเท่ากันชั้นละ๙๐ ตารางเมตร ชั้นล่างมี ๓ ห้อง ห้องด้านหน้าเป็นห้องรับแขก ห้องถัดมาทางด้านหลังของตัวบ้านเป็นห้องนอนของคุณสิน ตรงข้ามเป็นห้องโกงใหญ่ ที่มีตู้และชั้นวางหนังสือกั้นแทนฝา เป็นห้องทำงาน และห้องพักผ่อนของท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค ซึ้งภายหลังเมื่อมีอายุมากขึ้นท่านได้ใช้เป็นห้องนอน ด้านหลังเป็นเฉลียงขนาด ๘x๓เมตร มีลูกกรงไม้ล้อมรอบเป็นที่อเนกประสงค์ ต่อจากเฉลียงมีระเบียงไม้ลดระดับขนาด ๑๑x๑๕ เมตร ซึ่งมีระดับเดียวกับบ้านหลังใหญ่ เเละต่อไปยังเรือนครัวซึ่งลดระดับต่ำลงไปอีก และสูงจากพื้นดินประมาณ ๕๐ ซม. ระเบียงนี้ส่วนที่ติด กับเฉลียงเป็นที่รับประทานอาหารของท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค และครอบครัวของท่าน
       ชั้นบนของบ้านมีเนื้อที่หลังแบ่งออกเป็น ๕ ห้อง ห้องที่อยู่หัวบรรไดเป็นห้องมุมเป็นห้องนอนของท่านอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรค ห้องตรงข้ามเป็นห้องพักของลูกหลานของท่าน ตรงข้ามเดินไประหว่างสองห้องนี้เป็นห้องนั่งเล่น ติดกับห้องนี้และห้องนอนของท่านเป็นห้องเก็บของ
       บ้านโบราณหลังนี้มีหลังคา รวมทั้งมีลวดลายแหะสลักตกแต่งตามลักษณะบ้านแบบยุโรปที่เริ่มสร้างในประเทศไทยตั้งแต่ปลายสมัยราชกาลที่๔ แท่งกรุงรัฒนโกสินทร์โดยมีหน้าต่างแคบยาว ตีไม้เป็นบานเกล็ดตายตัว แต่มีหน้าจั่วเพิ่มมาด้านหน้า ตัวบ้านทาสีฟ้าออ่นตัดขอบสีฟ้าเข้ม คนในสมัยก่อนเชื่อว่า ผู้ที่สร้างบ้านเรือนแล้วมีบรรไดเป็นเลขคี่ เชื่อว่าเป็นเลขคน แต่บ้านใครมีบรรไดเลขคู่เป็นเลขผี ทำให้คนในสมัยก่อนนิยมปลูกบ้านมีบรรไดเลขคี่เกือบทุกหลัง
       ปัจจุบันเรือนอำมาตย์ พระยาพิบูลพิทยาพรรคอยู่ในความดูแลของสถาบันสัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทนาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.....
     
       อำมาตย์โท พระยาพิบูลพิทยาพรรค (ทอง คุปตาสา) เป็นธรรมการมณฑลปัตตานี และท่านยังได้รับการยกย่องจากชาวปัตตานีว่า เป็นบิดาแห่งการศึกษาของชาวปัตตานี โดยเป็นผู้ริเริ่มให้มีตำราเรียนเขียนไทยขึ้นเป็นครั้งแรกสำหรับใช้ในมณฑลปัตตานี และท่านยังเป็นบุคคลแรกที่ร่วมมือกับสมุหเทศาภิบาล ปรับปรุงและขยายกิจการลูกเสือให้แพร่หลาย จนได้รับคำประกาศเกียรติคุณและคำชมเชยจากเสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในหนังสือวิทยาจารย์ว่า "ปัตตานีเป็นมณฑลตัวอย่าง คือดีทั้งการศึกษา การลูกเสือ รวมทั้งอนุสภากาชาดด้วย"


          : แหล่งอ้างอิง :
 - ข้อความบางส่วนมาจาก พิพิธพันธ์เรือน อำมาตย์โท พิทยาพิบูลพรรค จังหวัดปัตตานี
 - ข้อความข้างท้ายมาจาก http://www.kananurak.com/mcontents/marticle.php?headtitle=mcontents&id=74130&Ntype=3



3 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 20 คะแนน
    ภาพประกอบเรียงความได้ดีค่ะ แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. คำนำของบทความ ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่อง
    2. ส่วนเนื้อเรื่อง ต้องจัดลำดับย่อหน้าให้เนื้อหามีความสอดคล้องและชัดเจนถูกต้องกว่านี้ เพื่อสามารถสื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย
    3. ส่วนสรุปยังขาดความเป็นเอกภาพ ยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  2. คะแนนที่ได้ 26 คะแนน
    จัดรูปภาพประกอบการเขียนเรียงความได้ดีมากค่ะ แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. จัดเรียงส่วนนำ เนื้อเรื่อง สรุป ให้ชัดเจนกว่านี้
    2. ส่วนสรุปยังขาดความเป็นเอกภาพ ยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    3. แหล่งอ้างอิง สามารถเข้าถึงได้
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. คะแนนที่ได้ 28 คะแนน

    ตอบลบ