วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

วัดคูหาภิมุข


                                                                       วัดคูหาภิมุข


           

              วัดถ้ำคูหาภิมุข เป็นวัดสำคัญของจังหวัดยะลา ภายในวัดมีถ้ำใหญ่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย ซึ่งถือเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญของภาคใต้ซึ่งสะท้อน ความรุ่งเรืองของพุทธศาสนานิกายมหายานในสมัยศรีวิชัย พ.ศ. 2390 ผู้ใหญ่บ้านอาศัยอยู่ที่บ้านหน้าถ้ำ ได้สร้างวัดคูหาภิมุขเพื่อประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในหมู่บ้าน ภายในวัดคูหาภิมุขมีถ้ำใหญ่ ประดิษฐาน พระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ ภายในถ้ำ ยังมีหินงอกหินย้อย และน้ำใสสะอาดไหลริน จากโขดหิน วัดคูหาภิมุข เป็นวัดที่สำคัญของเมืองยะลา   ตำบลหน้าถ้ำ ภาพพิกัดทางภูมิศาสตร์ของวัดคูหาภิมุขตำบลหน้าถ้า เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พบร่องรอยศาสนสถาน เมืองโบราณ ซึ่งเป็นศาสนสถานที่พบเทวรูปสำริด กำแพงเมือง พระพิมพ์ดินดิบแบบทวารวดีศรีวิชัย ภาพเขียนสีพระพุทธรูปฉาย ภาพขียนสีราชรถมีสัตว์เทียม มีอายุราวพุทธตวรรษที่ 15-17 ยะลาเป็นชุมชนเกษตร นักโบราณคดีได้พบเขียนก่อนประวัติศาสตร์บริเวณ ถ้ำคูหาภิมุขเป็นภาพพระพุทธฉาย และพระราชรถแกะสลักไว้บนหน้าผาภายในบริเวณถ้ำคูหาภิมุข
 
                 พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ขนาดใหญ่ปั้นด้วยดินเหนียวโดยใช้ไม่ไผ่เป็นโครง สร้างขึ้นสมัยศรีวิชัยรุ่งเรืองราว พ.ศ. 1300หรือสมัยเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนคร มีขนาดความยาว 81 ฟุต 1 นิ้ว ประดิษฐาน ภายในถ้ำคูหาภิมุข เดิมชื่อ วัดหน้าถ้ำ กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 วัดคูหาภิมุข มีพระพุทธรูป สมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง ใกล้ๆกับวัดมีภูเขากำปั่นเป็นภูเขาหินอ่อน สีชมพู สวยงามมาก ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนทำหินอ่อนจำหน่าย หินอ่อนสีชมพูจากยะลามีความสวยงาม มีชื่อเสียงระดับประเทศ    พิพิธภัณฑ์ศรีวิชัย ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดคูหาภิมุข มีวัตถุโบราณที่ขุดค้นได้จากถ้ำต่างๆ ในตำบลหน้าถ้ำ ได้แก่ ภูเขาวัดถ้ำ ภูเขากำปั่น กรมศิลปากรค้นพบพระพิมพ์ดินดิบ สมัยศรีวิชัย สถูป เม็ดพระศก อิฐฐานพระพุทธรูป ขวานหินขัด และบริเวณสนามบินท่าสาป ได้ค้นพบโคกอิฐ เนินดิน ซากกำแพงเมืองโบราณ เครื่องถ้วยชาม เทวรูปพระนารายณ์สำริด สูงประมาณ 1 ศอก (0.5 เมตร) พระพุทธรูปแกะสลักในแผ่นหินมีสภาพสมบูรณ์ จำนวน 3 องค์ กว้าง 21.50 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมาตร สลักเป็นรูปนูนต่ำ รูปพระพุทธเจ้าประทับนั่ง ปางสมาธิ อีกองค์หนึ่งชำรุดครึ่งหนึ่งมีแร่พระเศียร พระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย สมัยสุโขทัย สมัยอู่ทอง

   
                  ปัจจุบัน วัดคูหาภิมุข มีความสงบเงียบ ไร้นักท่องเที่ยวที่เคยเฟื่องฟูเหมือนครั้งเก่าก่อน เนื่องจากสภาพปัญหาทางด้านเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งส่งผลกระทบให้สภาพของ วัดหน้าถ้ำไม่ต่างไปจากโบราณสถานที่ไร้ผู้เหลียวแล จะมีแต่ชาวบ้านหน้าถ้ำที่อาศัยอยู่มาเนิ่นนาน แวะเวียนเข้าไปปฏิบัติศาสนกิจ และทำพิธีทางศาสนา ครั้งเมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนาก็จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่ก็เป็นอย่างนั้นไม่นาน  ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบใน พื้นที่ จะมีนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้าน และจังหวัดใกล้เคียงแวะเวียนเข้าไปเที่ยวชมความงดงามของ วัดหน้าถ้ำ และกราบไหว้สักการบูชาพระพุทธไสยาสน์อย่างไม่ขาดสาย อย่างไรก็ตาม วัดคูหาภิมุข ก็ยังคงเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนา และโบราณสถานในลำดับต้นๆ ของจังหวัดยะลา ที่นักท่องเที่ยวหลายๆ ท่านมักกล่าวอ้างถึงเมื่อนึกถึงจังหวัดยะลา ดังคำขวัญ




อ้างอิง : -





3 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 20 คะแนน
    สามารถจัดภาพประกอบเรียงความได้ดีค่ะ แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. คำนำของบทความ ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่อง
    2. ส่วนเนื้อเรื่องยังน้อยเกินไป สามารถเพิ่มประเด็นได้หลากหลายกว่านี้
    3. ส่วนสรุปยังขาดความเป็นเอกภาพ ยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  2. คะแนนที่ได้ 26 คะแนน
    จัดภาพประกอบการเขียนเรียงความได้ดีมาก แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. คำนำของเรื่อง ควรเกริ่นให้กว่างๆกว่านี้
    2. แหล่งอ้างอิง สามารถเข้าถึงได้
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. คะแนนที่ได้ 30 คะแนน

    ตอบลบ