วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประวัติศาสตร์ศาลหลักเมือง จังหวัดยะลา นูรินต้า

   เรื่อง ดินแดนจุดศูนย์กลางจังหวัดยะลา

               ในดินแดนแห่งความร้าวรานของบางผู้คนที่สูญเสียและกดดัน  บนแผ่นดินที่กำลังร้าวฉานด้วย    ไฟสงครามที่ลุกไหม้ทำลายตนทัศนาภาพรอบข้างที่เคลื่อนไหวด้วยมวลชีวิตและอณูอากาศไม่มีอะไร    มากตราบชีวิตวิ่งวน ผู้คนย่อมต้องดิ้นรนทะยานไปข้างหน้าตามมรรคาบ้างก้าวย่างมาในลักษณาการ  ของความร่าเริง เฉกเช่นกลีบลีลาวดีแต่งแต้มกิ่งก้านช้อยไหวสง่างามดั่งสาดส่องลงมาสู่เบื้องดินบ้าง  ห่มคลุมใจดวงร้าวด้วยแววตาหม่นเศร้า เฉกฝูงปลาว่ายวนอยู่ในสระน้ำไร้ทางหลีกหนีด้วยความสละ  สลวยเกร็ดของมันแวววับประกายตาขณะแสงส่องยามรุ่งอรุณลูบไล้ยอดหญ้าเปิดดวงตาอ่อนโยน ณ  ศาลหลักเมืองยะลาอันสถิตซึ่งศรัทธามาแต่โบราณกาล
              ศาลหลักเมืองยะลา ตั้งอยู่ในกลางวงเวียนหน้าศาลากลางจังหวัดเป็นที่สักการะบูชาเคารพนับถือของชาวจังหวัดยะลา โดยประมาณปลายเดือนพฤษภาคม  มีงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมืองซึ่งเป็นงานเทศกาลประจำปีงานหนึ่งของภาคใต้ นอกจากนี้ศาลหลักเมืองยะลายังเป็นจุดศูนย์กลางของผังเมืองรูปใยแมงมุม ซึ่งมีคำว่าเมืองยะลา เป็นเมืองที่มีผังเมืองสวยที่สุดในประเทศ
           
               จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นจังหวัดที่เล็กๆที่อยู่ใต้สุดแดนสยาม ยะลาเป็นจังหวัด ที่มีการวางผังเมืองแบบใยแมงมุมที่สวยที่สุดในประเทศไทย และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดเมืองที่สะอาด  และได้รับรางวัลปีซ้อนระหว่าง พ.ศ. 2528- พ.ศ. 2530 และใน พ.ศ 2540นั้น ได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็น 1 ใน 5 เมืองของประเทศไทย
ชาวยะลาเป็นผู้คนที่มีจิตใจดี มีน้ำใจ สามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาโดยตลอด ถึงแม้จะนับถือศาสนาที่ต่างกันแต่ก็ไม่เคยแบ่งแยกชนชั้นกันซึ่งเป็นอย่างนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว จังหวัดยะลามีทั้งหมด 8 อำเภอ ในแต่ละอำเภอจะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่แตกต่างกันออกไปตามสภาพแวดล้อมของอำเภอนั้นๆ เช่นตัวอย่างที่จะมานำเสนอในวันนี้คือสถานที่ที่น่าท่องเที่ยวในตัวเมืองจังหวัดยะลานั้นเองซึ่งก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักสถานที่อื่นๆนั้นก็ต้องรู้จักสถานที่แห่งนี้ก่อนก็คือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองนั้นเองคะ

              ข้าพเจ้าคิดเห็นว่าศาลหลักเมืองยะลาเป็นสถานที่สำคัญเพราะเป็นเสาหลักของจังหวัดยะลา ทำให้เมืองนครยะลามีความร่มเย็นเป็นสุข ไม่ต้องโยกย้ายสถานที่ไปที่ไหนอีกต่อไปประชาชนต่างก็ไปกราบไหว้บูชาหลักเมืองกันเป็นนิจ และทุกปีจะมีการจัดงานฉลองสมโภชศาลเจ้าพ่อหลักเมือง มีการออกร้านของหน่วยราชการต่างๆมีพ่อค้าประชาชนมาแสดงงานอาชีพมากมายตลอดแนววงเวียนของศาลหลักเมือง และยังจงมีมหรสพให้ชมกันตลอดทั้ง ๗ วัน ๗ คืน นับตั้งแต่วันที่ ๒๕ - ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๕ และยึดถือเป็นงานสมโภชเจ้าพ่อหลักเมืองประจำปีตลอดมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันคะ เรามาชมรูปภาพด้านล่างกันก่อนนะคะ


 


นี้คือรูปภาพศาลหลักเมือง จังหวัดยะลา 
     ที่เราเห็นกันนี้ก็คือทางขึ้นเพื่อไปสักการะบูชาเจ้าพ่อศาลหลักเมืองภายในนั้นเอง ทางด้านนอกนี้ก็คือ บ่อน้ำปลาขนาดใหญ่ซึ่งน้ำที่นี้สะอาดใสดั่งหัวใจอันสีขาวบริสุทธิ์ของผู้ที่มาทำบุญปล่อยปลาให้อาหาร
ปลาหรือช่วยกันเก็บกวาดขยะในคลองบางคนอาจจะนำต้นไม้มาปลูกเพื่อบริจาคแก่ศาลหลักเมืองเพื่อทีแห่งนี้จะได้มีอากาศร่มเย็นเป็นสุข ต่อมาเรามาชมรูปภาพด้านล่างนี้กันเลยคะ


 

นี้คือรูปภายในเจ้าพ่อศาลหลักเมือง
ทางสถาปัตยกรรม
เสาหลักเมืองทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ มีช่างจากกรมศิลปกรเป็นผู้ออกแบบแกะสลักเสาหลักเมือง
  ลักษณะของเสาเป็นแท่งกลมต้นเสาวัดโดยรอบ ๑o๕ เซนติเมตรเสาวางอยู่ฐานเพื่อมีลักษณะกลม
    แกะสลักลวดลายแบบไทยลงรักปิดทองรอบฐานชั้นบน และกลางแกะสลักเป็นรูปนักรบโบราณถือโล่
และดาบเป็นวิญญาณของแม่ทัพคนหนึ่งของพระเจ้าตากสินมหาราช ยอดเสาหลักเมืองแกะเป็นรูป
   พระพรหม มี๔ หน้า ตกแต่งด้วยหินขัดทั้งหลังเป็นรูปจตุรมุขหันหน้าไปตามทิศทั้ง๔ รอบๆตัวศาลนั้น
     จะมีสระน้ำและปลูกไม้ประดับดูสดชื่นร่มเย็น


 

นี้คือรูปภาพปัจจุบันที่เพิ่งจัดสวนซึ่งทางศาลหลักเมืองเขาได้จัดมุมให้ผู้ที่มาทำบุญได้มานั่งพักผ่อน
  หย่อนใจคลายความทุกข์ ความโศกเศร้าหรืออาจจะเป็นเด็กนักเรียนนักศึกษามานั่งทำรายงานกลุ่มกันเพื่อความสนุกสนานในการทำงานร่วมกับเพื่อนๆ และที่เราเห็นกันในภาพนี้ก็คือ เสาเหล็กซึ่งจะบรรยาย
 ความเป็นมาของการสร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแห่งนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาชมสักการะบูชาและมา      ทำบุญนั้นได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างศาลแห่งนี้ของจังหวัดยะลาด้วยความเข้าใจและลึกซึ้งถึงในการก่อ    ตั้งศาลหลักเมืองนี้ส่วนใครที่เคยได้เข้าไปแล้วไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดก็สามารถพาครอบครัวไปเดินเล่น    หรืออาจจะพาไปให้อาหารปลาก็ได้เพื่อคลายความเครียดในแต่ละวันคะ ต่อมาก็มาดูรูปภาพด้านล่างนี้    กันเลยนะคะ





นี้คือรูปภาพฉากกลางคืนของศาลากลางจังหวัดยะลา
ปัจจุบันนี้ได้มีการตั้งเวทีเพื่อประท้วงรัฐบาลทำให้มีประชาชนหลายพื้นที่ในเขตจังหวัดยะลามาร่วมชุมนุมที่หน้าศาลากลางจังหวัดทุกๆค่ำคืนเพื่อต่อต้านรัฐบาลซึ่งในขนาดนี้เหตุการณ์ก็ยังไม่สงบลงเช่นกันทำให้ผู้ที่สัญจรไปมาเกิดการจราจลในการขับขี่เป็นอย่างมากเลยทีเดียวที่ด้านหน้ารั้วประตู ศาลากลางจังหวัดยะลา ผู้ชุมนุมกลุ่ม กปปส.ยะลา ได้ทยอยเดินทางมารวมตัวตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าเพื่อปิดศาลากลางจังหวัด แกนนำกลุ่ม กปปส.ยะลา ประกาศผ่านเครื่องขยายเสียง ให้ข้าราชการที่ทำงานอยู่ด้านในรีบออกจากบริเวณศาลากลางด้วยความชุลมุน อลหม่าน วุ่นวายซึ่งทำให้ผู้ที่ทำงานราชการหรือผู้จะมาติดต่อทางหน่วยงานราชการนั้นต้องหยุดการติดต่อถาวรเพื่่อให้เหตุการณ์ในครั้งนี้สงบลง


 

รูปภาพดังกล่าวนี้คือผังเมืองรอบๆจังหวัดยะลา

ผังเมืองยะลานั้นจัดได้ว่าเป็นผังเมืองที่สวยงามมีมาตรฐาน คือ วางรูปข่ายใยแมงมุม มีวงเวียนซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ชั้นในสุดเป็นหลักเมือง รอบวงเวียนชั้นในเป็นที่ตั้งสถานที่ราชการ เช่น ศาลากลางจังหวัด ศาลจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ และสถานีตำรวจ ถัดออกไปเป็นวงเวียนที่ ๒ เป็นบ้านพักข้าราชการ วงเวียนที่ ๓ เป็นโรงพยาบาล สถานศึกษา  และวงเวียนที่ ๔ เป็นย่านการค้าเช่น การขายพืช ผัก ผลไม้ต่างๆ ซึ่งถนนที่มาจากอำเภอต่างๆนั้น จะมารวมกันที่บริเวณหลักเมืองนี้ทั้งหมด

  

นี้คือภาพบรรยากาศวงกว้างของศาลหลักเมือง

                 จากที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ นี้คืองานพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพซึ่งตัวหนูเองนั้นก็เคยได้เข้าไปชมด้านในของตัวศาลหลักเมืองแล้วเหมือนกันแต่ละมุมสถานที่ก็จะแตกต่างกันออกไป โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้ากัลยานิวัฒนา ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ดิฉันเลยเอารูปกินรี รูปโคมไฟ ลายไทยและสวนหย่อมสวนน้ำมาให้พี่น้องชาวจังหวัดยะลาได้ชม เพื่อความสบายใจ ดูแล้วมีความสุขสามารถทำให้เราเกิดความคิดที่จะอนุรักษ์และศึกษาความรู้เกี่ยวกับถิ่นฐานบ้านเกิดของตนให้ยังคงอยู่ต่อไป ซึ่งสามารถสะท้อนถึงความเป็นมาของสภาพแวดล้อมของสถานที่นั้นๆได้ ถึงแม้ใน                         ปัจจุบันจะมีหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ให้พวกเราได้เห็นหรือศึกษาเพียงแค่น้อยนิดแล้วก็ตาม       แต่เรื่องราวของศาลหลักเมืองนั้นผู้คนก็ยังมีการกล่าวถึงกันอยู่ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้มีเรื่องราวเล่าสู่กันฟัง จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งดิฉันและใครก็ไม่สามารถบอกได้ว่าตำนานเหล่านี้เป็นเรื่องเท็จจริงอย่างไรเพราะตัวดิฉันเองก็ไม่ได้นับถือทางศาสนาพุทธโดยตรงตั้งแต่กำเนิด แต่ที่ดิฉันได้บรรยายมาทั้งหมดเมื่อข้างต้นสักครู่นี้ก็มาจากการเล่าสู่กันฟังต่อผู้ใหญ่ ผู้เฒ่า ผู้แก่ แต่ทุกตำนานและทุกประวัติศาสตร์ล้วนมีคุณค่าทางด้านต่างๆ ที่ทำให้สถานที่นั้นๆ เกิดความน่าสนใจคงแก่การอนุรักษ์ไว้ ดังนั้นเรื่องราวของแต่ละภูมิภาคแต่ละท้องถิ่นล้วนมีความสำคัญ เราในในฐานะชนรุ่นหลังหรือที่เรียนอีกอย่างหนึ่งว่า ยังไม่รู้เท่าทันเหตุการณ์ความเป็นมาของจังหวัดที่ตัวเองอาศัยอยู่ ในถิ่นฐานใดก็ตาม จงภูมิใจในความเป็นท้องถิ่นและวัฒนธรรมของตน ดังที่เขาว่ากันว่า อดีตมีไว้เพื่อศึกษาและนำมาพัฒนาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อสังคมจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขตลอดไป ยินดีต้อนรับทุกท่านที่พามากันเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้กันนะคะ....สวัสดีคะ



 

ส่งท้ายด้วยรูปผู้เล่าประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดยะลาคะ

อ้างอิงจาก
คณะคุณครูทางโรงเรียนบ้านทำนบ อำเภอบังนังสตา จังหวัดยะลา



เด็กหญิงนูรินต้า แวบือซา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๒ เลขที่๓o
โรงเรียนพัฒนาวิทยา (แผนกสาธิต)


3 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 20 คะแนน
    สามารถจัดภาพประกอบเรียงความได้ดีค่ะ แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. คำนำของบทความ ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่อง
    2. ส่วนเนื้อเรื่อง ต้องจัดลำดับย่อหน้าให้เนื้อหามีความสอดคล้องและชัดเจนถูกต้องกว่านี้ เพื่อสามารถสื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย
    3. ส่วนสรุปยังขาดความเป็นเอกภาพ ไม่สัมพันธ์กับเนื้อหา ยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  2. คะแนนที่ได้ 26 คะแนน
    จัดภาพประกอบเรียงความได้ดีมากค่ะ แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    ส่วนสรุปยังขาดความเป็นเอกภาพอยู่ ยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. คะแนนที่ได้ 30 คะแนนค่ะ

    ตอบลบ