สุสานดาโต๊ะและอ่าวปัตตานี โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของปัตตานี
สามจังหวัดชายแดนใต้เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคใต้ซึ่งภาคใต้นั้นก็มี14จังหวัด รวมถึงพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนใต้ด้วย ภาคใต้เองก็มีเรื่องเล่าหรือตำนานที่น่าสนใจมากมาย ส่วนสามจังหวัดชายแดนใต้ก็มีเรื่องเล่าหรือตำนานที่ไม่น้อยเช่นกัน ในสามจังหวัดชายแดนใต้ประกอบด้วยจังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และจังหวัดในสามจังหวัดชายแดนใต้ก็มีสถานที่สำคัญมากมายที่เป็นตำนานหรือเรื่องเล่าที่น่าสนใจให้ได้ศึกษากัน ส่วนเรื่องเล่าที่ดิฉันอยากให้ผู้อ่านทุกคนได้อ่านก็คือ สุสานดาโต๊ะและอ่าวปัตตานี และโดยรวมของพื้นที่ปัตตานีในสมัยก่อน และโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของปัตตานีด้วย ที่เล่าขานกันมาจนถึงคนปัจจุบันได้เรียนรู้และนำความรู้ที่ได้ไปเล่าสู่กันฟังให้คนต่อๆไป
อ่าวปัตตานีเป็นมรดกสำคัญ มีทั้งแหล่งโบราณสถาน โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และอารยธรรม
ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งในอดีต อ่าวปัตตานี เป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญ
โดยมีพ่อค้าจากต่างประเทศมากมาย เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา จีน และอาหรับ
มาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามากมาย กลายเป็นชุมชนท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดใน แหลมมลายู และปัตตานีก็มีความเป็นมาของโบราณสถานต่างๆที่ศักดิ์สิทธิ์โดยจะเริ่มที่หมู่บ้านดาโต๊ะ หมู่บ้านดาโต๊ะตั้งอยู่ที่ตำบล แหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
เป็นสถานที่ตั้งของสุสาน “ดาโต๊ะปาแย”สุสานเจ้าเมืองปัตตานีและมัสยิดดาโต๊ะซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นท่าพักเรือสินค้า
แต่ภายหลังจังหวัดปัตตานีเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม และพื้นที่ดาโต๊ะกว่า 25
ไร่ จึงถูกเปลี่ยนเป็น สุสานฝังศพของชาวมุสลิม หรือที่คนมุสลิมเรียกกันว่า กุโบร์ นับเป็นกุโบร์ที่ใหญ่ที่สุดในอุษาคเนย์
นายมะรอนิง สาและ นักวิจัยท้องถ่ินของบ้านดาโต๊ะ
โดยนายมะรอนิง สาและ ซึ่งเป็นนักวิจัยท้องถิ่นของบ้านดาโต๊ะ ได้อธิบายว่า ชาวมุสลิมปัตตานีเคารพนับถือกุโบร์ (หลุมฝังศพชาวมุสลิม) โต๊ะปาแยกันมาก และก็มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า “ในอดีตมีพ่อค้าชาววาณิชชื่อ โต๊ะปาแย เดินทางมาค้าขายทองเหลือง ขณะนั้นมีการหล่อปืนใหญ่ เพื่อป้องกันเมืองปัตตานี เจ้าเมืองจึงสั่งห้ามไม่ให้นำทองเหลืองออกจากเมือง โต๊ะปาแยฝืนคำสั่งจึงลอบนำทอง-เหลืองที่เจ้าเมืองสั่งห้ามออกนอกเมือง และถูกจับได้ จึงประหารชีวิต ด้วยการตัดคอ และนำศพทิ้งลงคลองยะหริ่ง แต่ศพของโต๊ะปาแยยังวนเวียนอยู่ในคลอง เจ้าเมืองจึงสั่งให้นำศพมาฝังไว้ที่บ้านดาโต๊ะแต่เมื่อนำศพลงหลุม ปรากฏว่าศพขยายยาวขึ้น ชาวบ้านจึงใช้วิธีการพับศพ แต่เมื่อนำศพลงหลุมอีกครั้ง ศพก็ขยายยาวอีก
สุสานโต๊ะปาแย |
ชาวบ้านจึงพับศพอีกได้ประมาณ 1 ศอก และก็นำศพลงหลุมต้อง ศพจึงไม่ขยายอีก และเห็นได้ว่าหลุมศพโต๊ะปาแยมีขนาดยาวกว่าหลุมศพของคนทั่วไป”
สุสานเจ้าเมืองปัตตานี |
ติดกับกุโบร์โต๊ะปาแย ก็มี สุสานยะหริ่ง(สุสาน-ตนกูปะสา) หรือ เรียกว่า "พระยาวิชิตภักดีศรีรัตนาเขตประเทศราช" เจ้าเมืองปัตตานีคนที่ 9 และภายในเป็นหลุมศพของเจ้าเมือง และสมาชิกในครอบครัว โดยหลุมฝังศพจะมีแท่งหินแกะสลักลวดลายสวยงามอยู่ 9 แท่น วางบนหลุมศพอย่างเป็นระเบียบ โดยหลุมศพของเจ้าเมืองนั้นจะอยู่ตรงกลาง
รวมถึง”มัสยิดดาโต๊ะปาแย” ซึ่งปัจจุบันคือ”มัสยิดดาโต๊ะ”เป็นที่น่าสนใจคือมีประวัติการก่อสร้างร่วมสมัยกับ”มัสยิดกรือเซะ”สร้างเพื่อให้พ่อค้าชาวมุสลิมใช้ปฏิบัติศาสนกิจ ตามหลักศาสนาอิสลาม ใกล้ๆกันก็เป็นบ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสาน พญาอินทิรา(สุลต่านอิสมาอีล ชาห์) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของปัตตานี สุสานนี้มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า สุสานของเจ้าเมืองจะอยู่ด้านในสุด และสร้างศาลาเพื่อป้องกันฝนกัดเซาะ ส่วนภายในสุสานก็มีหินทรายสลักลวดลายเป็นภาษาอาหรับสวยงามวางอยู่ 4 แท่ง ซึ่งเป็นสุสานของพญาอินทิรา และชายาของพระองค์ และส่วนบริเวณโดยรอบจะเป็นสุสานของบุคคลในครอบครัว และใกล้กันประมาณ 500 เมตรก็จะเป็นที่ตั้งของสุสาน ราชินีฮีเยา ราชินีบีรู และราชินีอูงู ซึ่งปัจจุบันบริเวณสุสานราชินีทั้ง 3 พระองค์นี้ยังไม่ได้ปรับปรุงให้สวยงาม แต่ยังคงอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งวิทยากรท้องถิ่นบ้านปาเระ ได้บอกว่า พญาอินทิรา หรือ สุลต่านอิสมาอีล ชาห์ เป็นบุตรของรายาศรีวังสาแห่งเมืองโดตามหลิฆัย "หรือเมืองยะรัง" ในรัชสมัยของท่าน เมืองปัตตานีมีชื่อเสียงทางด้านการค้าและเผยแพร่ศาสนาอิสลาม และจังหวัดปัตตานีก็เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ศาสนาอิสลามมายังจังหวัดยะลาและนราธิวาส และได้ใช้คำพูดเป็นภาษามลายู หรือเรียกว่ามลายูปาตานีมาสู่รุ่นลุกรุ่นหลานในปัจจุบันได้ใช้กัน
แต่รัฐปาตานีก็เลือนหายไปตามกาลเวลา เพราะ รัฐไทยมิให้ความสำคัญหรือเล็งเห็นคุณค่าของมันเลยดังนั้นหากรัฐให้การส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นเหล่านี้ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางวิชาการ ทางประวัติศาสตร์ ให้ชาวบ้านและคนรุ่นใหม่ได้รู้ถึงคุณค่าความเป็นมาของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างชัดเจน และสุดท้ายความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม จะก้าวไปข้างหน้าในทางที่ดี และในที่สุดความสงบจะกลับคืนสู่ท้องถิ่นอีกครั้ง
แหล่งอ้างอิง
- https://www.google.co.th/search?q=สุสานเจ้าเมืองปัตตานี
- https://www.google.co.th/search?q=สุสานดาโต๊ะ
- http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEF6TVRBMU13PT0=
คะแนนที่ได้ 29 คะแนน
ตอบลบ