เรียงความ เรื่อง
มัสยิดกรือเซ๊ะ
สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ประกอบด้วยจังหวัด
ยะลา ปัตตานี และนราธิวาสมีเรื่องเล่าเรื่องตำนานที่
เล่าขานกันมาถึงปัจจุบันมากมาย ที่บรรพบุรุษในสมัยก่อนได้เก็บหลักฐานนไว้เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักถึงความเป็นมาของแต่ละสถานทีในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จากที่กระผมได้ไปศึกษาค้นคว้ามาจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งปรากฏว่า ผมได้เจอตำนานเรื่องหนึ่งชื่อว่า
ตำนานมัสยิดกรือเซ๊ะ ในสมัยก่อนเป็นที่เลื่องลือในสมัยยุครัฐปัตตานี
รูปมัสยิดกรือเซ๊ะ
ตำนานมัสยิดกรือเซ๊ะ
เป็นเรื่องราวที่ได้สร้างความอัปยศให้กับสังคมมุสลิมนับตั้งแต่ได้มีประวัติศาสตร์อิสลามเกิดขึ้นมาในปัตตานี
เริ่มจากรัชสมัยของพระยาอินทิรา แห่งราชวงศ์ RAJA WANGSA ซึ่งพระองค์เข้ายอมรับอิสลาม และมีพระนามว่า สุลต่าน อิสมาแอล
ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้วมัสยิดกรือเซ๊ะ ไม่ได้ถูกสร้างโดยลิ้มโต๊ะเคียมเหมือนกับตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวที่ได้รับบอกเล่าต่อๆ
กันมา หรือตามตำนานที่ได้ถูกบันทึกในวารสาร อสท.ของททท.
และมัสยิดกรือเซ๊ะไม่ได้ถูกฟ้าผ่า
เนื่องจากคำสาปแช่งของ นางสาวลิ้มกอเหนี่ยวหรือหลิมกอเนี่ยว
ที่ผูกคอตายที่ต้นมะม่วงหิมพานต์ริมชายหาดตันหยงลูโล๊ะ ดี่งที่ตำนานได้กล่าวไว้
ที่วา เมื่อนางไม่สามารถชวน ลิ้มโต๊ะเคี่ยมหรือหลิมเต้าเคียน
ผู้เป็นพี่ชายกลับเมืองจีนเพื่อไปดูแลแม่ที่ชราได้ นางจึงเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ
ได้ตัดสินใจผูกคอตายกับต้นมะม่วงหิมพานต์ พร้อมทั้งได้อาฆาตพยาบาทต่อมัสยิดกรือเซ๊ะที่เป็นต้นเหตุให้พี่ชายไม่สามารถกลับเมืองจีนพร้อมกับนางได้
นางจึงได้ตั้งจิตอธิฐานว่า
ขอให้มัสยิดนี้มีอันเป็นไปในทุกๆครั้งที่มีการก่อสร้างหรือสร้างเสร็จ
จากนั้นก็ได้มีฟ้าคะนองพร้อมกับได้มีอสนีบาตฟาดลงบนโดมมัสยิดพังพินาศเสียหายชาวมุสลิมต่างเกรงกลัวต่ออิทฤทธ์ของลิ้มกอเหนี่ยว
เมื่อทำการบูรณะเสร็จก็จะโดนฟ้าผ่าทุกครั้งไป
จนชาวมุสลิมไม่กล้าบูรณะมัสยิดหลังนี้อีกต่อไปและปล่อยให้มัสยิดรกร้างตั้งแต่นั้นมา
ด้วยเพราะความเกรงกลัวต่ออำนาจอิทฤทธิ์ของนางสาวลิ้มกอเหนี่นวหรือเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวในปัจจุบัน
รูปมัสยิดกรือเซ๊ะ
แต่ทางประวัติศาสตร์
ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ไทยบางส่วนและประวัติศาสตร์ของชาวมลายูบันทึกว่าสาเหตุที่มัสยิดกรือเซ๊ะเสียหาย
เพราะโดนกองทัพจากกรุงสยามเข้าตีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2328 ครั้งที่ทัพสยามเข้ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้
ทหารสยามได้ระดมยิงปืนใหญ่จนเมืองและพระราชวังเสียหายตลอดจนมัสยิดเสียหาย
และเมื่อทหารสยามรบชนะก็ได้ทำการเผามัสยิดเพื่อลอกเอาเนื้อทองคำบริสุทธิ์ที่ห่อหุ้มบนโดมมัสยิดกรือเซ๊ะอันสวยงามแห่งนี้
และหลังจากกองทัพสยามได้ยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้กล่าวกันว่า ในสมัยที่กองทหารสยามกวาดและริบทรัพย์สินจากเชลยศึกในสงครามปัตตานีในสมัยปัตตานีในสมัยที่กองทัพถอยกลับนั้นด้วยความที่ทรัพย์สินของปัตตานีมีมาก
เรือลำหนึ่งที่บรรทุกปืนใหญ่ศรีนะฆะราจจมล้มในอ่าวปัตตานี และทหารสยามต้องเท้ากลับกรุงเทพมหานคร
เพราะเรือของกองทัพทั้งต้องบรรทรัพย์สินของเชลยศึกที่ยึดได้จากสงครามกลับกรุงเทพ
ยังมีความจริงอีกมามายที่ยังไม่ได้เขียนถึง
และยังมีละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่ยังไม่เปิดเผย แต่มัสยิดกรือเซ๊ะเป็นมัสยิดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ดังนั้นเราควรอนุรักษ์และรักษาเอาไว้ เพื่อให้เป็นที่รู้จักของคนรุ่นหลังเอาไว้
อ้างอิง http://www.geocities.ws/prawat_patani/masjidkersik.htm
คะแนนที่ได้ 20 คะแนน
ตอบลบแต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
1. คำนำของบทความ ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่อง
2. ส่วนเนื้อเรื่องสั้นเกินไป
3. ส่วนสรุปยังขาดความเป็นเอกภาพ ยาวเกินไป และยังไม่สามารถบอกผู้อ่านให้ทราบว่าผู้อ่านได้อ่านมาจนถึงจุดปิดเรื่องแล้ว
โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )
คะแนนที่ได้ 26 คะแนน แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
ตอบลบ1. ควรมีภาพประกอบที่หลากหลายกว่านี้ เพื่อให้น่าสนใจกว่านี้
2. จัดเรียง ส่วนนำ เนื้อเรื่อง สรุป ให้ชัดเจนกว่านี้
3. แหล่งอ้างอิง สามารถเข้าถึงได้
โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )
คะแนนที่ได้ 30 คะแนนค่ะ
ตอบลบ