เว็บล็อกสำหรับการเรียนการสอนภาษาไทย ชั้นม.2 โรงเรียนพัฒนาวิทยา (แผนกสาธิต) Demonstration School
เว็บบล็อกนี้ พัฒนาขึ้นเพื่อจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของคุณครูรอกีเย๊าะ ดิง โรงเรียนพัฒนาวิทยา (แผนกสาธิต)
วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
กริชรามัน.........ตำนานแห่งศาตราวุธ ฮาซัน ยามา
กริชรามัน.........ตำนานแห่งศาตราวุธ
กริช ศาสตราวุธโบราณ อันเป็นตำนานคู่กับชายมลายู กริชมิใช่อาวุธทั่วไป แต่กริชคือวัตถุสิ่งหนึ่งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำขึ้นมาโดยผู้สั่งทำได้ประสานจิตภาวนา หรืออำนาจจิตเข้าด้วยกัน และเริ่มทำในฤกษ์ยามใดยามหนึ่ง และเสร็จด้วยฤกษ์ยามใดยามหนึ่งที่ชัดเจน ซึ่งถ้าหากทำกริชขึ้นมาในลักษณะนี้ ทางภูมิปัญญาเรื่องกริชเขาเล่าว่ากริชเล่มนั้นจะเป็นกริชที่มีจิตวิญญาณ กริชจะเป็นอย่างไรนั้นสุดแล้วแต่ใจจะคิด ตามความเชื่อของแต่ละคน กริชรามันมีตำนานความเป็นมา และลักษณะพิเศษเป็นเอกลักษณ์ ไม่แพ้กริชของพื้นที่ใดในแหลมมลายู ตระกูลการทำกริชนั้นมีหลายตระกูลและมีความเชื่อที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจารย์พิชัย แก้วขาว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกริช ได้เคยกล่าวไว้ว่า หากจะศึกษาเรื่องกริชแล้ว ตลอดชีวิตก็ยังไม่จบ ใบกริชหรือตากริชเป็นส่วนที่มีอานุภาพร้ายแรงมาก ส่วนมากจะเป็นโลหะ กริชยังเป็นเครื่องประดับที่ใช้ศิลปะชั้นสูง มีคุณค่าด้วยประวัติที่บ่งบอกถึงความเป็นมาของใบกริชว่ามีพลังอำนาจหรือมีประโยชน์ในการใช้งานอย่างไร เช่น กริชจือรีตา ซึ่งช่างจะทำรูปสลักที่โคนของใบกริชเป็นรูปต่างๆ อย่างเช่น รูปฤาษี รูปม้า รูปมังกร รูปช้าง รูปสิงห์ ฯลฯ ซึ่งจะมีความหมายแตกต่างกันไป
.jpg)


วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
สุสานดาโต๊ะและอ่าวปัตตานี โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของปัตตานี
สุสานดาโต๊ะและอ่าวปัตตานี โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของปัตตานี
สามจังหวัดชายแดนใต้เป็นจังหวัดที่อยู่ทางภาคใต้ซึ่งภาคใต้นั้นก็มี14จังหวัด รวมถึงพื้นที่สาม จังหวัดชายแดนใต้ด้วย ภาคใต้เองก็มีเรื่องเล่าหรือตำนานที่น่าสนใจมากมาย ส่วนสามจังหวัดชายแดนใต้ก็มีเรื่องเล่าหรือตำนานที่ไม่น้อยเช่นกัน ในสามจังหวัดชายแดนใต้ประกอบด้วยจังหวัด ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และจังหวัดในสามจังหวัดชายแดนใต้ก็มีสถานที่สำคัญมากมายที่เป็นตำนานหรือเรื่องเล่าที่น่าสนใจให้ได้ศึกษากัน ส่วนเรื่องเล่าที่ดิฉันอยากให้ผู้อ่านทุกคนได้อ่านก็คือ สุสานดาโต๊ะและอ่าวปัตตานี และโดยรวมของพื้นที่ปัตตานีในสมัยก่อน และโบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของปัตตานีด้วย ที่เล่าขานกันมาจนถึงคนปัจจุบันได้เรียนรู้และนำความรู้ที่ได้ไปเล่าสู่กันฟังให้คนต่อๆไป
อ่าวปัตตานีเป็นมรดกสำคัญ มีทั้งแหล่งโบราณสถาน โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และอารยธรรม
ที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งในอดีต อ่าวปัตตานี เป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญ
โดยมีพ่อค้าจากต่างประเทศมากมาย เช่น โปรตุเกส ฮอลันดา จีน และอาหรับ
มาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามากมาย กลายเป็นชุมชนท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดใน แหลมมลายู และปัตตานีก็มีความเป็นมาของโบราณสถานต่างๆที่ศักดิ์สิทธิ์โดยจะเริ่มที่หมู่บ้านดาโต๊ะ หมู่บ้านดาโต๊ะตั้งอยู่ที่ตำบล แหลมโพธิ์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
เป็นสถานที่ตั้งของสุสาน “ดาโต๊ะปาแย”สุสานเจ้าเมืองปัตตานีและมัสยิดดาโต๊ะซึ่งบริเวณนี้เคยเป็นท่าพักเรือสินค้า
แต่ภายหลังจังหวัดปัตตานีเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม และพื้นที่ดาโต๊ะกว่า 25
ไร่ จึงถูกเปลี่ยนเป็น สุสานฝังศพของชาวมุสลิม หรือที่คนมุสลิมเรียกกันว่า กุโบร์ นับเป็นกุโบร์ที่ใหญ่ที่สุดในอุษาคเนย์

นายมะรอนิง สาและ นักวิจัยท้องถ่ินของบ้านดาโต๊ะ

โดยนายมะรอนิง สาและ ซึ่งเป็นนักวิจัยท้องถิ่นของบ้านดาโต๊ะ ได้อธิบายว่า ชาวมุสลิมปัตตานีเคารพนับถือกุโบร์ (หลุมฝังศพชาวมุสลิม) โต๊ะปาแยกันมาก และก็มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า “ในอดีตมีพ่อค้าชาววาณิชชื่อ โต๊ะปาแย เดินทางมาค้าขายทองเหลือง ขณะนั้นมีการหล่อปืนใหญ่ เพื่อป้องกันเมืองปัตตานี เจ้าเมืองจึงสั่งห้ามไม่ให้นำทองเหลืองออกจากเมือง โต๊ะปาแยฝืนคำสั่งจึงลอบนำทอง-เหลืองที่เจ้าเมืองสั่งห้ามออกนอกเมือง และถูกจับได้ จึงประหารชีวิต ด้วยการตัดคอ และนำศพทิ้งลงคลองยะหริ่ง แต่ศพของโต๊ะปาแยยังวนเวียนอยู่ในคลอง เจ้าเมืองจึงสั่งให้นำศพมาฝังไว้ที่บ้านดาโต๊ะแต่เมื่อนำศพลงหลุม ปรากฏว่าศพขยายยาวขึ้น ชาวบ้านจึงใช้วิธีการพับศพ แต่เมื่อนำศพลงหลุมอีกครั้ง ศพก็ขยายยาวอีก
สุสานโต๊ะปาแย |
ชาวบ้านจึงพับศพอีกได้ประมาณ 1 ศอก และก็นำศพลงหลุมต้อง ศพจึงไม่ขยายอีก และเห็นได้ว่าหลุมศพโต๊ะปาแยมีขนาดยาวกว่าหลุมศพของคนทั่วไป”
![]() |
สุสานเจ้าเมืองปัตตานี |
ติดกับกุโบร์โต๊ะปาแย ก็มี สุสานยะหริ่ง(สุสาน-ตนกูปะสา) หรือ เรียกว่า "พระยาวิชิตภักดีศรีรัตนาเขตประเทศราช" เจ้าเมืองปัตตานีคนที่ 9 และภายในเป็นหลุมศพของเจ้าเมือง และสมาชิกในครอบครัว โดยหลุมฝังศพจะมีแท่งหินแกะสลักลวดลายสวยงามอยู่ 9 แท่น วางบนหลุมศพอย่างเป็นระเบียบ โดยหลุมศพของเจ้าเมืองนั้นจะอยู่ตรงกลาง
รวมถึง”มัสยิดดาโต๊ะปาแย” ซึ่งปัจจุบันคือ”มัสยิดดาโต๊ะ”เป็นที่น่าสนใจคือมีประวัติการก่อสร้างร่วมสมัยกับ”มัสยิดกรือเซะ”สร้างเพื่อให้พ่อค้าชาวมุสลิมใช้ปฏิบัติศาสนกิจ ตามหลักศาสนาอิสลาม ใกล้ๆกันก็เป็นบ้านปาเระ ตำบลบาราโหม อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานีิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสุสาน พญาอินทิรา(สุลต่านอิสมาอีล ชาห์) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองคนแรกของปัตตานี สุสานนี้มีรูปร่างสี่เหลี่ยมผืนผ้า สุสานของเจ้าเมืองจะอยู่ด้านในสุด และสร้างศาลาเพื่อป้องกันฝนกัดเซาะ ส่วนภายในสุสานก็มีหินทรายสลักลวดลายเป็นภาษาอาหรับสวยงามวางอยู่ 4 แท่ง ซึ่งเป็นสุสานของพญาอินทิรา และชายาของพระองค์ และส่วนบริเวณโดยรอบจะเป็นสุสานของบุคคลในครอบครัว และใกล้กันประมาณ 500 เมตรก็จะเป็นที่ตั้งของสุสาน ราชินีฮีเยา ราชินีบีรู และราชินีอูงู ซึ่งปัจจุบันบริเวณสุสานราชินีทั้ง 3 พระองค์นี้ยังไม่ได้ปรับปรุงให้สวยงาม แต่ยังคงอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งวิทยากรท้องถิ่นบ้านปาเระ ได้บอกว่า พญาอินทิรา หรือ สุลต่านอิสมาอีล ชาห์ เป็นบุตรของรายาศรีวังสาแห่งเมืองโดตามหลิฆัย "หรือเมืองยะรัง" ในรัชสมัยของท่าน เมืองปัตตานีมีชื่อเสียงทางด้านการค้าและเผยแพร่ศาสนาอิสลาม และจังหวัดปัตตานีก็เป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ศาสนาอิสลามมายังจังหวัดยะลาและนราธิวาส และได้ใช้คำพูดเป็นภาษามลายู หรือเรียกว่ามลายูปาตานีมาสู่รุ่นลุกรุ่นหลานในปัจจุบันได้ใช้กัน
แต่รัฐปาตานีก็เลือนหายไปตามกาลเวลา เพราะ รัฐไทยมิให้ความสำคัญหรือเล็งเห็นคุณค่าของมันเลยดังนั้นหากรัฐให้การส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นเหล่านี้ให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางวิชาการ ทางประวัติศาสตร์ ให้ชาวบ้านและคนรุ่นใหม่ได้รู้ถึงคุณค่าความเป็นมาของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างชัดเจน และสุดท้ายความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม จะก้าวไปข้างหน้าในทางที่ดี และในที่สุดความสงบจะกลับคืนสู่ท้องถิ่นอีกครั้ง
แหล่งอ้างอิง
- https://www.google.co.th/search?q=สุสานเจ้าเมืองปัตตานี
- https://www.google.co.th/search?q=สุสานดาโต๊ะ
- http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdNVEF6TVRBMU13PT0=
วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
ตำนานปืนใหญ่ พญาตานี เด็กหญิงซีตีฟาตีเมาะห์ บินมามะ
เรียงความเรื่อง ตำนานปืนใหญ่
พญาตานี
จังหวัดแต่ละจังหวัดของประเทศไทยในสมัยก่อนล้วนมีวัฒนธรรม ประเพณี การปกครอง ที่แตกต่างกันไป เช่นเดียวกับวัฒนธรรม ประเพณีของคนจังหวัดปัตตานีที่มีทั้งคนไทยพุทธ มุสลิม และคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งมีวัฒนธรรม ประเพณี การปกครองของแต่ละศาสนาที่แตกต่างกันมาก แต่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้
อาณาจักรปัตตานี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในปัจจุบัน ไม่มีข้อสรุปแน่ชัดว่าอาณาจักรปัตตานีถือกำเนิดขึ้นเมื่อใด และใครเป็นผู้ก่อตั้ง แต่เท่าที่มีการสันนิฐานไปถึงอาณาจักรลังกาสุกะซึ่งน่าจะมีอายุราวประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 เดิมอาณาจักรปัตตานีจะนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานซะส่วนใหญ่ แต่ในพุทธศตวรรษที่ 21 ได้เริ่มเปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาอิสลาม และหลังจากได้เปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาอิสลามแล้ว อาณาจักรปัตตานีมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก บางช่วงอาณาจักรได้แผ่ขยายไปถึงรัฐกลันตันและตรังกานู ตอนกลางของมาเลเซีย และหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ศรีวังสา อาณาจักรปัตตานีก็เริ่มเสื่อมลง จนตกอยู่ในอำนาจของสยามในปี พุทธศักราช 2329 และถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสยาม
ราชวงศ์ศรีวังสา คือ ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรปัตตานีตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2000 จนถึง พ.ศ.2231
มณฑลปัตตานีในปี พ.ศ.2449-2466
ปืนใหญ่พญาตานีเป็นปืนใหญ่ที่มีขนาดใหญ่มาก
มีอายุราวประมาณ 400 ปี ปืนใหญ่พญาตานีมีความยาว 3 วา 1ศอก 1 คืบ 2 นิ้วครึ่ง
ปากกระบอกกว้าง 11 นิ้ว เป็นปืนใหญ่ที่มีการหล่อด้วยสำริด มีหูระวิง
ใช้จับทั้งสองข้าง ท้ายปืนหล่อเป็นรูปสังข์ มีการสันนิษฐานเรื่องผู้สร้างไว้ 3
พระองค์ คือ สุลต่านอิสมาเอล ชาฮ์
ราชินีฮีเยา ราชินีบีรู
และยังมีสำนวนหนึ่งที่ได้กล่าวว่า
พญาอินทรา เป็นผู้สร้าง
ปืนใหญ่เป็นภาพสะท้อนถึงความเป็นอยู่และความเจริญรุ่งเรืองของรัฐปัตตานีในอดีต
ที่เคยมีการปกครองโดยราชินี เพื่อต่อต้านการรุกรานจากอาณาจักรใหญ่ๆ ต่างๆ เช่น อาณาจักรอยุธยาเป็นต้น
ปัจจุบันพญาตานีตั้งแสดงอยู่ที่กระทรวงกลาโหม
ปัตตานี - ชาวปัตตานีแห่ชมปืนใหญ่พญาตานีจำลอง
รัฐปัตตานีได้สร้างปืนใหญ่ขึ้น
เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก และกองทัพต่างๆในสมัย ราชินีฮีเยาครองราชย์
รัฐปัตตานีเป็นศูนย์กลางการค้าอาวุธให้กับสยามและญี่ปุ่น ตำนานของของปืนใหญ่พญาตานีไม่มีหลักฐานใดยืนยันแน่นอนว่าใครเป็นผู้สร้าง
“ หนังสือสยาเราะห์เมืองตานี
ของนายหะยีหวัน หะซัน กล่าวถึงเหตุที่พญาอินทิราสร้างปืนว่า นายเรือสำเภาจีนได้นำปืนและกระสุนปืนมาถวาย
ทำให้สุลต่านเกิดความละอายต่อชาวจีนผู้นั้น เนื่องจากพระองค์มีฐานะเป็นเจ้าผู้ครองนคร
แต่หาได้มีอาวุธปืนไว้สำหรับป้องกันบ้านเมือง เหมือนนายเรือมีไว้ป้องกันตนและสำเภา
ต่อไปจะเป็นที่ดูหมิ่นแก่ชาวต่างประเทศ จึงเรียกประชุมมุขมนตรี
ให้จัดหาช่างและทองเหลืองมาหล่อปืนให้ได้ภายในระยะเวลา ๓ ปี และให้ทำประกาศห้ามพ่อค้านำทองเหลืองออกนอกเมือง
"
เอกสารชิ้นนี้กล่าวถึงผู้สร้างว่าเป็นชาวโรมัน
ต่างจากตำนานเรื่องอื่นๆ ที่อ้างว่าเป็นชาวจีน
" เมื่อได้ทองเหลืองพอเพียงแก่การหล่อแล้ว
พญาอินทิราได้ให้นายช่างชาวโรมัน ชื่ออับดุลซามัค มาเป็นผู้ทำการหล่อปืน
เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนรอมดอน ปีชวดนักษัตร ฮิจยาเราะห์ ๗๘ "
(แลหลังเมืองตานี, อนันต์ วัฒนานิกร, ๒๕๒๘)
ถึงแม้ว่าตำนานพญาตานี เป็นตำนานที่ไม่ค่อยมีหลักฐานยืนยันชัดเจนมากนัก
แต่ก็ไม่ทำให้ชาวรัฐปัตตานีหมดความศรัทธา
เพราะชาวปัตตานียังคงศรัทธาและมีความห่วงต่อโบราณวัตถุนี้เป็นอย่างมาก
ทั้งยังมีความสำคัญกับต่อชาวปัตตานีแล้ว
เรายังสามารถศึกษาความเป็นอยู่และความเจริญรุ่งเรืองของคนในอดีตที่อาจจะมีสายเลือดเดียวกับปู่
ย่า หรือ พ่อแม่ของเรา
แหล่งอ้างอิง
สวนขวัญเมือง ทะเลเทียมของชาวยะลา
สวนขวัญเมือง
ทะเลเทียมของชาวยะลา
ดิฉันเป็นเด็กในจังหวัดยะลา
จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคใต้สุดแดนสยาม ปลายด้ามขวานของประเทศไทย จังหวัดยะลาเป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่ติดกับทะเล เมืองยะลามีสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดของเทศบาลนครยะลา
คือ สวนขวัญเมือง สวนขวัญเมืองเป็นสถานที่สำคัญที่ให้ผลประโยชน์ประชาชน เช่น เป็นสถานที่พักผ่อนหยอนใจของชาวเมืองยะลา เป็นสถานที่ออกกำลังกาย เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเยาวชนและประชาชนชาวยะลา เป็นต้น
สวนขวัญเมือง มีชื่อเดิมว่า พรุบาโกย เป็นที่รู้จักกันของคนในชุมชนสะเตงตั้งแต่อดีตของรุ่นปู่ย่า
ตายายจนถึงปัจจุบัน ในอดีตพรุบาโกยเป็นสถานที่ที่มีแต่คูน้ำและเป็นป่าที่เต็มไปด้วยหญ้าและต้นกกขึ้นรกรุงรัง
ชาวบ้านในอดีตจึงใช้สถานที่ทำเป็นการเกษตร
เป็นทุ่งสำหรับเลี้ยงสัตว์ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีท่อระบายน้ำ
จึงมีลุ่มน้ำท่วมขัง ปีละครั้ง ทำการเกษตรก็ไม่ได้ ไม่สะดวก
ทำที่อยู่อาศัยก็ยาก ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เลย
เทศบาลจึงพัฒนาทำท่อระบายน้ำ หลังจากนั้นน้ำท่วมสองปีครั้ง ห้าปีครั้ง
และสิบปีครั้ง เทศบาลจึงได้พัฒนาทำระบายน้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้พัฒนาสถานที่นี้เป็นสวนสาธารณะ
สวนขวัญเมือง หรือพรุบาโกย มีพื้นที่ประมาณ
๒๐๗ ไร่เศษ ต่อมาในปี ๒๕๒๖
นายกเทศมนตรีเมืองยะลาและหัวหน้ากองช่างได้มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาที่ดินสาธารณะแห่งนี้ให้กลายเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวยะลา เนื่องจากเห็นว่ายะลาเป็นจังหวัดเดียวในภาคใต้ที่ไม่มีพื้นที่ติดกับทะเลจึงเร่งดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จกลายเป็นสวนสาธารณะ
และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจขนาดใหญ่ที่ประชาชนนิยมมาใช้ประโยชน์ ด้วยการออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจเป็นจำนวนมาก
สวนขวัญเมืองเป็นส่วนสาธารณะที่สองของเทศบาล
มีการเปิดใช้งานตั้งแต่ปี ๒๕๒๙ เป็นต้นมาและได้ปล่อยพันธุ์ปลาจำนวนมากพร้อมทั้งพันธุ์ปลาบึก
เป็นระยะเวลา ๒๘ ปี ปรากฏว่าสระน้ำมีสภาพตื้นเขิน มีวัชพืชเกิดขึ้น
ดังนั้นเทศบาลนครยะลาจึงได้ดำเนินการขุดลอกปรับปรุงใหม่ ในปี ๒๕๕๓
สวนขวัญเมือง (พรุบาโกย) ปัจจุบันมีการปรับปรุงสถานที่ในแต่ละสถานที่ในบริเวณสวนขวัญเมืองโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการประกอบด้วยสวนสนที่มีความสวยงาม มีการค้าขายจัดระเบียบ เรียบร้อย สะดวก รวมทั้งโขดหินวางไว้อย่างเหมาะสมเลียบไปตามชายหาด โดยเฉพาะช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดินมีทิวทัศน์สวยงามมากทีเดียว จัดให้มีการพายเรือเพื่อสุขภาพละจักรยานน้ำ ในบริเวณเดียวกันนี้ยังจัดให้มีสนามแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนเป็นประจำทุกปีซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสนามแข่งขันนกเขาชวาเสียงที่ใหญ่ที่สุดในโลก สนามเด็กเล่น โรงยิมอเนกประสงค์ สวนสุขภาพและพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ ทำให้สวนขวัญเมืองนับว่าเป็นสถานที่ที่มีประชาชนมาท่องเที่ยวมากที่สุดในเขตเทศบาลนครยะลา และเป็นเขตที่เหมาะแก่การทำธุรกิจค้าขาย ปลูกบ้าน สังเกตได้ว่าตอนนี้มีการค้าขายมากขึ้น มีการปลูกบ้านเพิ่มขึ้นมากมายเป็นแถวและที่สำคัญทำให้สวนขวัญเมืองแห่งนี้น่าอยู่มากขึ้น เช้าๆมีผู้คนมากมายปั่นจักรยานรอบๆสวนขวัญเมือง(พรุบาโกย) สูดลมหายใจที่บริสุทธิ์ กับบรรยากาศ ทิวทัศน์อันสวยงาม จนปัจจุบันใครๆก็อยากมาเที่ยวสวนสาธารณะแห่งนี้
สวนขวัญเมือง (พรุบาโกย) ปัจจุบันมีการปรับปรุงสถานที่ในแต่ละสถานที่ในบริเวณสวนขวัญเมืองโดยรอบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการประกอบด้วยสวนสนที่มีความสวยงาม มีการค้าขายจัดระเบียบ เรียบร้อย สะดวก รวมทั้งโขดหินวางไว้อย่างเหมาะสมเลียบไปตามชายหาด โดยเฉพาะช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดินมีทิวทัศน์สวยงามมากทีเดียว จัดให้มีการพายเรือเพื่อสุขภาพละจักรยานน้ำ ในบริเวณเดียวกันนี้ยังจัดให้มีสนามแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนเป็นประจำทุกปีซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสนามแข่งขันนกเขาชวาเสียงที่ใหญ่ที่สุดในโลก สนามเด็กเล่น โรงยิมอเนกประสงค์ สวนสุขภาพและพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ ทำให้สวนขวัญเมืองนับว่าเป็นสถานที่ที่มีประชาชนมาท่องเที่ยวมากที่สุดในเขตเทศบาลนครยะลา และเป็นเขตที่เหมาะแก่การทำธุรกิจค้าขาย ปลูกบ้าน สังเกตได้ว่าตอนนี้มีการค้าขายมากขึ้น มีการปลูกบ้านเพิ่มขึ้นมากมายเป็นแถวและที่สำคัญทำให้สวนขวัญเมืองแห่งนี้น่าอยู่มากขึ้น เช้าๆมีผู้คนมากมายปั่นจักรยานรอบๆสวนขวัญเมือง(พรุบาโกย) สูดลมหายใจที่บริสุทธิ์ กับบรรยากาศ ทิวทัศน์อันสวยงาม จนปัจจุบันใครๆก็อยากมาเที่ยวสวนสาธารณะแห่งนี้
สวนขวัญเมืองนับว่าเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดของเมืองยะลาและเป็นการสร้างความภาคภูมิใจ
สามารถใช้ประโยชน์ได้กับประชาชนทุกเพศทุกวัยสร้างแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ เป็นสวนที่เน้นกระบวนการพัฒนาทักษะด้านการคิดและบูรณาการองค์ความรู้ด้านต่างๆของเด็ก
เยาวชนและประชาชนทั่วไป และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดเพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ปลาบึกให้อยู่คู่สวนขวัญเมือง
ไม่ต้องเดินทางไปดูถึงแม่น้ำโขง เพราะ ที่ยะลาบ้านเราก็มีปลาบึกตัวโตๆ ให้ดูให้ชมเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของเยาวชนและ
ประชาชนชาวยะลาต่อไป รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้เป็นปอดของเมืองยะลา
อ้างอิง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)