วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ตำนาน เขาอกทะลุ


ตำนาน เขาอกทะลุ

    ตำนานนั้นเป็นสิ่งเล่าต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษยังลูกหลาน  ซึ่งตำนานนั้นมีความสำคัญมากเพราะมีประโยชน์ต่อการศึกษาในเรื่องประวัติศาสตร์ต่างๆตำนานในภาคใต้นั้นมีตำนานหลายๆอย่างที่น่าสนใจ เช่น ตำนานนางเลือดขาว ตำนานเกาะตะรุเตา ตำนานเกาะตาเกาะยาย เป็นต้น มีตำนานหนึ่งเชื่อกันว่าคนในภาคใต้ไม่ค่อยรู้จัก ยกเว้นแต่คนในจังหวัดพัทลุงที่อาจจะรู้จักกันดี นั้นคือตำนานอะไร ถ้าอยากรู้แล้วนั้น เราไปอ่านกันเลย
         
         เขาอกทะลุเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพัทลุง  เป็นภูเขาหินปูนตั้งอยู่ตามแนวเหนือ - ใต้ ยอดเขาสูงประมาณ ๒๕๐ เมตร ยาวประมาณ ๒ กิโลเมตร เป็นภูเขาที่มีความสำคัญ มีความศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของเจ้าแม่สมฤดี เจ้าแห่งเขาอกทะลุ  มีบันไดสำหรับขึ้นยอดเขาเพื่อชมทิวทัศน์ของเมืองพัทลุงได้ลักษณะพิเศษของภูเขาลูกนี้คือ มีโพรงทะลุมองเห็นอีกด้านหนึ่งอยู่บริเวณเกือบตอนปลายของยอดเขาซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่หากเราได้รับฟังตำนานของเขาอกทะลุซึ่งเป็นเรื่องที่เล่ากันมาผูกโยงเป็นเรื่องราวระหว่างภูเขาต่างๆในพัทลุง มีตำนานเกี่ยวกับ ภูเขาอกทะลุ เล่าว่า คนเติบๆเคยเล่าให้ฟังถึงตำนานที่มาของเขาอกทะลุว่า  มีครอบครัวหนึ่ง สามีชื่อนายเมือง  มีภรรยา 2 คน บุตร 2 คน ภรรยาหลวงชื่อว่านางสินลาลุดี นางสินลาลุดีมีบุตรชื่อว่านางยี่สุ่น ภรรยาน้อยชื่อว่านางบุปผา ๆ มีบุตรชื่อว่านายซังกั้ง ทั้ง 5 คนอยู่ด้วยกันด้วยความผาสุกมาเป็นเวลาช้านาน  ครั้งหนึ่งนายเมืองได้เดินทางไปค้าช้างที่ต่างเมือง นางยี่สุ่นได้นำสำเภาไปค้าขายที่เมืองจีน นายซังกั้งซึ่งเป็นผู้ที่มีนิสัยเกียจคร้านพาลเกเร ก็ท่องเที่ยวไปอย่างไม่มีจุดหมาย ที่บ้านจึงเหลือแต่นางสินลาลุดีกับนางบุปผา ซึ่งทั้ง 2 คน ได้ช่วยเหลือเกื้อหนุนกันด้วยดีตลอดมา จนวันหนึ่งในขณะที่นางสินลาลุดีกำลังพอหูก (ทอผ้า) ส่วนนางบุปผาก็กำลังซ้อมสาร (ตำข้าว) ทั้งสองได้เกิดปากเสียงโต้แย้งกันขึ้นถึงกับวิวาททุบตีกัน นางสินลาลุดีมีความโกธรมากจับได้ฟืมทอผ้า ตีศีรษะนางบุปผาแตกเลือดไหล ฝ่ายนางบุปผาจับได้สากตำข้าวแทงเข้าตรงหน้าอกของนางสินลาลุดีจนทะลุ ทั้ง 2 คนถึงแก่ความตายกลายเป็นหิน คือ นางสินลาลุดีกลายเป็นเขาอกทะลุ นางบุปผากลายเป็น เขาหัวแตก
เขาหัวแตก
ทางฝ่ายนายเมืองเมื่อเสร็จจากการค้าช้างก็เดินทางกลับเมืองพัทลุง ไม่ทันได้เข้าเมืองก็ทราบข่าวว่า ภรรยาทั้ง 2 วิวาททุบตีจนถึงแก่ความตาย ก็เกิดความเสียใจไม่ยอมเข้าเมือง จนตรอมใจตายจักกันแพร่หลายทั่วไปกลายเป็นหิน คือ เขาเมืองหรือเขาชัยบุรี
เขาเมืองหรือเขาชัยบุรี
 ซึ่งมีลักษณะคล้ายช้างหมอบ
เขาชัยสน
ส่วนนางยี่สุ่นลูกสาวของนางสินลาลุดี กลับจากค้าขายจากเมืองจีน ไม่ทันเข้าเมืองก็ทราบว่า พ่อแม่ได้ถึงแก่ความตายแล้ว ก็เกิดความเสียใจตรอมใจตายกลายเป็นหิน คือ เขาชัยสน ซึ่งมีลักษณะคล้ายเรือสำเภา ฝ่ายนายซังกั้งลูกชายนางบุปผา เมื่อกลับมาบ้าน ทราบว่าทุกคนตายหมดแล้ว ก็เกิดความเสียใจจนตรอมใจตายกลายเป็นหินคือเขาซังกั้งหรือเขากัง 
ซึ่งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลประจำจังหวัดพัทลุง
         
       ตำนาน เขาอกทะลุนั้นเป็นตำนานที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในครอบครัว  ความรัก  คนที่ชอบใช้กำลังในการตัดสินปัญหา ไม่เชื่อใจกัน ความขัดแย้งต่างๆ คนๆนั้นจะเป็นคนที่อยู่ไม่เป็นสุข ตำนานนี้จะสอดคล้องกับการใช้ชีวิตของสามีที่มีภรรยาสองคน เป็นตำนานแนวสอนชีวิตให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน ชาวเมืองพัทลุงเชื่อถือเปรียบเสมือนเสาหลักเมืองพัทลุงด้วยเหตุนี้ทางราชการจึงนำภาพเขาอกทะลุและเจดีย์บนยอดเขามาทำเป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัด นอกจากนี้ เขาอกทะลุยังเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกด้วย 




อ้างอิง :  http://www.bloggang.com
               http://www.oknation.net/
               http://travel.thaiza.com

4 ความคิดเห็น:

  1. คะแนนที่ได้ 20 คะแนน แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. ตรวจสอบภาษาที่เขียน ยังมีบางคำเขียนผิดอยู่
    2. คำนำของบทความ ส่วนเกริ่นนำเรื่อง ควรจะเป็นการเขียนกว้างๆกว่านี้ ก่อนที่จะเจาะลึกลงไปในเนื้อเรื่อง
    3. ส่วนสรุปยังสัมพันธ์กับเนื้อหา และสั้นเกินไป
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  2. คะแนนที่ได้ 27 คะแนน
    เขียนเรียความได้ดี จัดภาพประกอบได้สวยงาม แต่ถ้าจะให้คะแนนเพิ่มขึ้น ควรปรับปรุงดังนี้
    1. คำนำยังสั้นเกินไป
    2. ส่วนสรุปให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและให้ยาวกว่านี้นะค่ะ
    โปรดปรับปรุงภายใน 1 สัปดาห์ ( แก้ไขเสร็จแล้ว แจ้งให้คุณครูทราบด้วยนะค่ะ )

    ตอบลบ
  3. ครั้งที่สามแก้วน่ะค่ะ

    ตอบลบ
  4. คะแนนที่ได้ 30 คะแนน

    ตอบลบ